mfg

การใช้งานสตีลไฟเบอร์


แชร์ให้เพื่อน

สวัสดีครับ วันนี้ ผมได้รับคำถามจากลูกค้าท่านหนึ่งเกี่ยวกับ การใช้งานสตีลไฟเบอร์ โดยลูกค้ามีข้อสงสัยว่า เราสามารถใช้คอนกรีตผสมเส้นใย ทดแทนตะแกรงเหล็ก (Wire Mesh) เทในโครงสร้างแผ่นพื้นบนดินอัดแน่นได้หรือไม่?

คำตอบคือ การใส่เหล็กเสริมตะแกรงในแผ่นพื้นที่วางบนดินเพื่อต้องการลดการแตกร้าวเป็นสำคัญ PCA (Portland Cement Associate) ได้ระบุไว้ว่าการควบคุมให้รอยแตกในระยะที่กำหนดนั้นทำได้ ถ้าทำดินที่รองรับพื้นให้แน่นมีการกระจายแรงได้ดีพอและมีการทำรอยต่อ (Joint) ที่ระยะไม่ห่างกันมากนักก็ไม่จำเป็นต้องใส่เหล็กเสริมในแผ่นพื้น แต่เมื่อต้องการให้รอยต่อมีระยะห่างกันมากขึ้นหรือไม่ต้องการให้มีรอยต่อเลยจะต้องใส่เหล็กเสริม การทำรอยต่อในระยะสั้นๆแม้ว่าอาจลดความจำเป็นที่ต้องใส่เหล็กเสริมแต่การใส่ตะแกรงเหล็กที่เหมาะสมโดยมีระยะ 5 ซ.ม. จากผิวหน้าพื้นคอนกรีต สามารถขยายระยะห่างของรอยต่อได้ อีกทั้งช่วยยึดรอยแตกที่เกิดกระจายทั่วไป ให้มีความกว้างที่แคบลง นี่คือการใช้งานไวร์เมชเบื้องต้นครับ

สำหรับเส้นใยพลาสติกหรือเส้นใยเหล็กสตีลไฟเบอร์ ไม่สามารถใช้ทดแทนตะแกรงเหล็กในพื้นวางบนดินได้ ไม่ส่งผลต่อการกำหนดระยะห่างของรอยต่อ แต่สามารลดรอยแตกของคอนกรีตได้ การแตกที่มักเกิดขึ้นหลังการเทคอนกรีตไม่นานและก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัว

การใช้งาน สตีลไฟเบอร์

การใช้งานคอนกรีตที่ผสมเส้นใยเหล็ก (Steel Fiber)

โดยส่วนใหญ่คอนกรีตผสมเส้นใยนั้นจะใส่เส้นใยประมาณร้อยละ 0.1 โดยปริมาตร หรือ ประมาณ 0.9 กก/ลบ.ม.(สำหรับแผ่นพื้นบนดินบดอัด) เส้นใยที่ใช้กันอยู่เพื่อควบคุมการแตกร้าวแบบพลาสติกมีอยู่หลายประเภท เส้นใยโพลีโพรพีลิน เส้นใยพลาสติก เส้นใยไนลอน เส้นใยเหล็กสตีลไฟเบอร์ แต่เส้นใยที่นิยมใช้กันอยู่คือเส้นใยเส้นใยเหล็กสตีลไฟเบอร์

เส้นใยแต่ละประเภทจะให้คุณสมบุติที่แตกต่างกันไป ตามคุณลักษณะของวัสดุที่ทำเส้นใยนั้นๆ ยกตัวอย่าง เช่น เส้นใยจากเหล็กจะช่วยในการเพิ่มกำลังรับแรงดัด เพิ่มคุณสมบัติรับแรงกระแทก ซึ่งใช้กันมากในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมหนักเช่นโกดัง โรงงานที่ต้องรับน้ำหนักของเครื่องจักร เป็นต้น

แชร์ให้เพื่อน