สตีลไฟเบอร์ หรือ Steel Fiber (ใยเหล็กเสริมคอนกรีต)
สตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber )
แม้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนา ถูกนำมาใช้และเจริญเติบโตเป็นอย่างมากสำหรับวงการก่อสร้างในปัจจุบัน เรายังไม่สามารถปฏิเสธการใช้แรงงานเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญได้ นอกจากนี้ แรงงานและระยะเวลายังเป็นตัวชี้วัดถึงความสำเร็จของงานอยู่เสมอ ดังนั้นหากเราสามารถลดการใช้แรงงานและเวลาในการก่อสร้างลงโดยยังคงผลสำเร็จของงานได้ เราก็จะสามารถลดต้นทุนและระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างได้
สตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber ) จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดปัญหาการขาดแรงงาน ลดปริมาณการใช้เหล็กในการทำงานในขณะที่ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรง ทนทานให้กับคอนกรีต อีกทั้งยังลดขั้นตอนในการทำงานลงอีกด้วย
ทำความรู้จักกับสตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber )
สตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber ) คือเส้นใยเหล็กที่ประกอบไปด้วยคาร์บอนจำนวนน้อย ผลิตขึ้นจาก กระบวนการรีดเย็น (Cold-drawn steel wire) ผลิตจากเส้นลวด (Rod) ตามมาตรฐาน UNI EN10016-1,2,4 หรือ UNI 10088-3 โดยมีการตัดปลายสองข้างให้มีลักษณะงอลง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดติดคอนกรีต เนื่องจากลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้คอนกรีตมีความแข็งแรงมากขึ้น
ลักษณะของสตีลไฟเบอร์
การนำสตีลไฟเบอร์ (Steel Fiber) ไปใช้งาน
* งานปูพื้นคอนกรีต
* ผนังอุโมงค์
* อุตสาหกรรมปูพื้นต่างๆ
* วางพื้นถนนและทางเท้า
* วางรากฐานอาคาร
* กำแพงกันดิน
* แบริเออร์กันทาง
* เสาขนาดใหญ่ต่างๆ
และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
ข้อดีของการใช้งาน สตีลไฟเบอร์ (Steel Fiber)
สตีลไฟเบอร์ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการเทพื้นคอนกรีต หรือการผสมกับคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เรามาดูกันว่าการใช้สตีลไฟเบอร์มีข้อดีอย่างไรบ้าง
* ขนส่งง่ายและสะดวกสบาย เพราะการบบรจุสตีลไฟเบอร์นั้น จะบรรจุในกระสอบหรือลังซึ่งทำให้ขนส่งได้ง่ายและได้ในคราวละปริมาณที่มาก
* ใช้งานง่าย โดยการผสมกับคอนกรีตและใช้งานได้เลยไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
* ลดค่าใช้ง่าย เพราะสตีลไฟเบอร์ สามารถรับน้ำหนักได้ในการใช้งานที่น้อย
* ลดการเสียเหล็กจากการตัด
* มีมาตรฐานเพราะสตีลไฟเบอร์นั้น ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในหลายประเทศทั่วโลก และมีการรับรอง
* ประยุกต์ใช้สตีลไฟเบอร์ได้หลายหลายไม่ว่าจะเป็นงานพื้นทั่วไป งานพื้นโกดัง ลานจอดรถ หรือแม้กระทั้งงานที่จำเพาะเช่นงานอุโมงค์ งานเสา งานแบริเออร์ เป็นต้น
*** จะเห็นได้ว่าการใช้สตีลไฟเบอร์นั้น ง่ายและสะดวกสบาย และลดค่าใช้จ่าย และใช้ในวิศวกรรมใหญ่ๆ แต่การนำไปใช้งานก็ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์
สอบถามเกี่ยวกับสตีลไฟเบอร์หรือสนใจใช้งานสตีลไฟเบอร์
การนำสตีลไฟเบอร์ไปประยุกต์ใช้งาน
รายละเอียดสินค้า
รายละเอียดสินค้า
ชนิดเส้นใย
เหล็กชนิด 5 คาร์บอนต่ำ ผลิตโดยวิธีรีดเย็น
ลักษณะเส้นใย
เส้นตรง ปลายพับลงทั้งสองข้างเพิ่มการยึดเกาะ
ความยาว
50 มิลลิเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง
1 มิลลิเมตร
อัตราส่วนภาพ
50
ความแข็งแกร่งต่อการดึง
800-900 ปาสคาล (นิวตัน ต่อตารางมิลลิเมตร)
มาตรฐานเหล็ก
ASTM A820
วิธีใช้ Steel Fiber
ก่อนทำการผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสด ต้องแน่ใจว่าคุณสมบัติและค่าการยุบตัว เข้าเกณฑ์ตามกำหนดของประเภทวัสดุคอนกรีตโม่ผสมจะต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 20 รอบต่อนาที การผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดด้วย เครื่องผสมเส้นใยเหล็กหรืออาจใช้วิธีการโปรยเส้นใยด้วยมือ อัตราการผสมจะต้องมีปริมาณไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อนาที เมื่อนำเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสด จนครบตามจำนวนที่กำหนดจะต้องหมุนโม่ผสมด้วยความเร็วสูงสุดเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเวลา 4-5 นาที
*** โดยอัตราการผสมจะต้องมีปริมาณระหว่าง 20-40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร
การเท
เทคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กลงในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยตรงหรืออาจใช้ปั๊มตามดุลยพินิจของวิศวกรผู้ควบคุมงาน ปาดหน้าพื้นด้วยมือใช้เครื่องปาดเลเซอร์ หรือการสั่นเขย่าให้ได้แนวและระดับ
การปรับแต่งผิวหน้า
การปรับแต่งขั้นสุดท้าย จะสามารถดำเนินการได้เมื่อไม่พบน้ำลอยขึ้นมาผิวหน้าคอนกรีต (Free Bleed Water) การแต่งผิวหน้าอาจเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสม
Steel fiber อธิบาย ง่ายๆ คือ วัสดุ ที่ทำมาจากเหล็กหรือเส้นลวดซึ่งมีการผลิตมากมาย
โดยแบ่งโดย มาตรฐาน UNI 11037 ซึ่งอ้างอิงมาจากกระบวนการผลิต fiber หลากหลายประเภท
พิจารณาได้จาก
– การรีดเย็น (Cold-drawn steel wire) ผลิตจาก เส้นลวด (Rod) ตามมาตรฐาน UNI EN 10016-
1,2,4 หรือ UNI EN 10088-3
– Cold-laminated sheet of non-alloy (plain carbon) steel
– Other production methods (such as, e.g., milling from a steel block)
ใน prEN 14889-1. Fibers for concrete. Part. 1: Steel fibers the category “Other production
methods” is further detailed:
Group I: cold-drawn wire;
Group II: cut sheet;
Group Ill: melt extracted;
Group IV: shaved cold drawn wire;
Group V: milled from blocks.
รูปร่างของ steel fiber มีหลากหลายประเภท
โดยแต่ละรูปร่าง ก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งในตลาดเมืองไทยตอนนี้ จะมีแค่สองแบบ ที่ใช้กันเป็นส่วนมากคือ hooked loose form และ อีกแบบคือ hoked sticked form
มาดูลักษณะของ steel fiber ที่ดูจาก ความยาว(L)และขนาดเส้นผ่าศูนย์(D)
ซึ่งส่วนมาก จะสั่งเกตุได้จากค่า Aspect Ratio (L/D)
ปกติแล้ว เวลา supplier ต้องการจะขาย steel fiber ส่วนมากจะบอกค่าลักษณะจำเพาะไม่กี่อย่าง
โดยทั่วๆ ไปก็จะดู
Diameter (D) : เส้นผ่าศูนย์กลาง
Length (L) : ความยาวของ steel fiber
Aspect ratio (L/D) : สัดส่วนความยาวต่อเส้นผ่าศูนย์กลาง
Number of fiber/kg : เพื่อดูการกระจายตัว
Wire tensile strength : ค่าแรงดึง (MPA)
ขั้นตอนการใช้ Steel Fiber
การเตรียมพื้นที่ สำหรับเทคอนกรีตผสมสตีลไฟเบอร์
การผสมสตีลไฟเบอรืกับคอนกรีตสามารถทำได้ที่ไซต์งานเลย
การผสมสตีลไฟเบอร์ลงในโม่ทำกำลังทำงานได้เลย
หลังผสมคอนกรีตกับสตีลไฟเบอรืแล้ว เทลงบนพื้นที่หน้างงาน
หากขณะเท มีการจับตัวเป็นกลุ่มหรือกระจายตัวไม่ดี ให้เกลี่ยสตีลไฟเบอร์ให้กระจายตัวเท่าๆกัน
ลักษณะของสตีลไฟเบอร์ที่กระจายตัวได้ดี
ขอขอบคุณข้อมูล
https://sukumalpongkul.wordpress.com