mfg

Steel Fiber(ใยเหล็กเสริมคอนกรีต)


แชร์ให้เพื่อน

hook_ends_steel_fiber

สตีลไฟเบอร์ หรือ Steel Fiber (ใยเหล็กเสริมคอนกรีต)

สตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber )
แม้ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนา ถูกนำมาใช้และเจริญเติบโตเป็นอย่างมากสำหรับวงการก่อสร้างในปัจจุบัน เรายังไม่สามารถปฏิเสธการใช้แรงงานเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญได้ นอกจากนี้ แรงงานและระยะเวลายังเป็นตัวชี้วัดถึงความสำเร็จของงานอยู่เสมอ ดังนั้นหากเราสามารถลดการใช้แรงงานและเวลาในการก่อสร้างลงโดยยังคงผลสำเร็จของงานได้ เราก็จะสามารถลดต้นทุนและระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างได้ 

สตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber ) จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดปัญหาการขาดแรงงาน ลดปริมาณการใช้เหล็กในการทำงานในขณะที่ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรง ทนทานให้กับคอนกรีต อีกทั้งยังลดขั้นตอนในการทำงานลงอีกด้วย 

ทำความรู้จักกับสตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber )
สตีลไฟเบอร์ ( Steel Fiber ) คือเส้นใยเหล็กที่ประกอบไปด้วยคาร์บอนจำนวนน้อย ผลิตขึ้นจาก กระบวนการรีดเย็น (Cold-drawn steel wire) ผลิตจากเส้นลวด (Rod) ตามมาตรฐาน UNI EN10016-1,2,4 หรือ UNI 10088-3 โดยมีการตัดปลายสองข้างให้มีลักษณะงอลง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดติดคอนกรีต เนื่องจากลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้คอนกรีตมีความแข็งแรงมากขึ้น 

สตีลไฟเบอร์

ลักษณะของสตีลไฟเบอร์

การนำสตีลไฟเบอร์ (Steel Fiber) ไปใช้งาน
* งานปูพื้นคอนกรีต
* ผนังอุโมงค์
* อุตสาหกรรมปูพื้นต่างๆ
* วางพื้นถนนและทางเท้า
* วางรากฐานอาคาร
* กำแพงกันดิน
* แบริเออร์กันทาง
* เสาขนาดใหญ่ต่างๆ

และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย

 

ข้อดีของการใช้งาน สตีลไฟเบอร์ (Steel Fiber)

สตีลไฟเบอร์ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการเทพื้นคอนกรีต หรือการผสมกับคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เรามาดูกันว่าการใช้สตีลไฟเบอร์มีข้อดีอย่างไรบ้าง

* ขนส่งง่ายและสะดวกสบาย เพราะการบบรจุสตีลไฟเบอร์นั้น จะบรรจุในกระสอบหรือลังซึ่งทำให้ขนส่งได้ง่ายและได้ในคราวละปริมาณที่มาก
* ใช้งานง่าย โดยการผสมกับคอนกรีตและใช้งานได้เลยไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
* ลดค่าใช้ง่าย เพราะสตีลไฟเบอร์ สามารถรับน้ำหนักได้ในการใช้งานที่น้อย
* ลดการเสียเหล็กจากการตัด
* มีมาตรฐานเพราะสตีลไฟเบอร์นั้น ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในหลายประเทศทั่วโลก และมีการรับรอง
* ประยุกต์ใช้สตีลไฟเบอร์ได้หลายหลายไม่ว่าจะเป็นงานพื้นทั่วไป งานพื้นโกดัง ลานจอดรถ หรือแม้กระทั้งงานที่จำเพาะเช่นงานอุโมงค์ งานเสา งานแบริเออร์ เป็นต้น

*** จะเห็นได้ว่าการใช้สตีลไฟเบอร์นั้น ง่ายและสะดวกสบาย และลดค่าใช้จ่าย และใช้ในวิศวกรรมใหญ่ๆ แต่การนำไปใช้งานก็ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์

สอบถามเกี่ยวกับสตีลไฟเบอร์หรือสนใจใช้งานสตีลไฟเบอร์

การนำสตีลไฟเบอร์ไปประยุกต์ใช้งาน 

01-3 01-2 01-1

 

รายละเอียดสินค้า

รายละเอียดสินค้า
ชนิดเส้นใย เหล็กชนิด 5 คาร์บอนต่ำ ผลิตโดยวิธีรีดเย็น
ลักษณะเส้นใย เส้นตรง ปลายพับลงทั้งสองข้างเพิ่มการยึดเกาะ
ความยาว 50 มิลลิเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร
อัตราส่วนภาพ 50
ความแข็งแกร่งต่อการดึง 800-900 ปาสคาล (นิวตัน ต่อตารางมิลลิเมตร)
มาตรฐานเหล็ก ASTM A820

 

 

วิธีใช้ Steel Fiber
ก่อนทำการผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสด ต้องแน่ใจว่าคุณสมบัติและค่าการยุบตัว เข้าเกณฑ์ตามกำหนดของประเภทวัสดุคอนกรีตโม่ผสมจะต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 20 รอบต่อนาที การผสมเส้นใยเหล็กลงในคอนกรีตสดด้วย เครื่องผสมเส้นใยเหล็กหรืออาจใช้วิธีการโปรยเส้นใยด้วยมือ อัตราการผสมจะต้องมีปริมาณไม่เกิน 40 กิโลกรัมต่อนาที เมื่อนำเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสด จนครบตามจำนวนที่กำหนดจะต้องหมุนโม่ผสมด้วยความเร็วสูงสุดเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเวลา 4-5 นาที

*** โดยอัตราการผสมจะต้องมีปริมาณระหว่าง 20-40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร

 

การเท
เทคอนกรีตผสมเส้นใยเหล็กลงในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยตรงหรืออาจใช้ปั๊มตามดุลยพินิจของวิศวกรผู้ควบคุมงาน ปาดหน้าพื้นด้วยมือใช้เครื่องปาดเลเซอร์ หรือการสั่นเขย่าให้ได้แนวและระดับ

 

การปรับแต่งผิวหน้า
การปรับแต่งขั้นสุดท้าย จะสามารถดำเนินการได้เมื่อไม่พบน้ำลอยขึ้นมาผิวหน้าคอนกรีต (Free Bleed Water) การแต่งผิวหน้าอาจเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้ตามความเหมาะสม

 


 

Steel fiber อธิบาย ง่ายๆ คือ วัสดุ ที่ทำมาจากเหล็กหรือเส้นลวดซึ่งมีการผลิตมากมาย

โดยแบ่งโดย มาตรฐาน UNI 11037 ซึ่งอ้างอิงมาจากกระบวนการผลิต fiber หลากหลายประเภท

พิจารณาได้จาก

– การรีดเย็น (Cold-drawn steel wire) ผลิตจาก เส้นลวด (Rod) ตามมาตรฐาน UNI EN 10016-

1,2,4 หรือ UNI EN 10088-3

– Cold-laminated sheet of non-alloy (plain carbon) steel

– Other production methods (such as, e.g., milling from a steel block)

ใน prEN 14889-1. Fibers for concrete. Part. 1: Steel fibers the category “Other production
methods” is further detailed:

Group I: cold-drawn wire;
Group II: cut sheet;
Group Ill: melt extracted;
Group IV: shaved cold drawn wire;
Group V: milled from blocks.

รูปร่างของ steel fiber มีหลากหลายประเภท

โดยแต่ละรูปร่าง ก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งในตลาดเมืองไทยตอนนี้ จะมีแค่สองแบบ ที่ใช้กันเป็นส่วนมากคือ hooked loose form และ อีกแบบคือ hoked sticked form

01

 

02
กราฟข้างบนจะอธิบายว่า ทำไมถึงต้องเป็นแบบ HOOKED FORM

 

มาดูลักษณะของ steel fiber ที่ดูจาก ความยาว(L)และขนาดเส้นผ่าศูนย์(D)

ซึ่งส่วนมาก จะสั่งเกตุได้จากค่า Aspect Ratio (L/D)

03

 

ปกติแล้ว เวลา supplier ต้องการจะขาย steel fiber ส่วนมากจะบอกค่าลักษณะจำเพาะไม่กี่อย่าง

โดยทั่วๆ ไปก็จะดู

Diameter (D) : เส้นผ่าศูนย์กลาง


Length (L) : ความยาวของ steel fiber


Aspect ratio (L/D) : สัดส่วนความยาวต่อเส้นผ่าศูนย์กลาง


Number of fiber/kg : เพื่อดูการกระจายตัว


Wire tensile strength : ค่าแรงดึง (MPA)

 

fiber-steel01

 

ขั้นตอนการใช้ Steel Fiber

การเตรียมพื้นที่ สำหรับเทคอนกรีตผสมสตีลไฟเบอร์

 

การผสมสตีลไฟเบอรืกับคอนกรีตสามารถทำได้ที่ไซต์งานเลย

 

 

การผสมสตีลไฟเบอร์ลงในโม่ทำกำลังทำงานได้เลย

 

หลังผสมคอนกรีตกับสตีลไฟเบอรืแล้ว เทลงบนพื้นที่หน้างงาน

 

 

 

หากขณะเท มีการจับตัวเป็นกลุ่มหรือกระจายตัวไม่ดี ให้เกลี่ยสตีลไฟเบอร์ให้กระจายตัวเท่าๆกัน

 

 

ลักษณะของสตีลไฟเบอร์ที่กระจายตัวได้ดี

 

ขอขอบคุณข้อมูล

https://sukumalpongkul.wordpress.com

 

แชร์ให้เพื่อน