mfg

เหล็กเส้นกลม


แชร์ให้เพื่อน

เหล็กเส้นกลม

จำหน่ายเหล็กเส้นกลมทุกไซส์ ทุกขนาด มาตรฐาน มอก. สอบถามได้เลย

เหล็กเส้นกลม (Round Bars RB) หรือเรียกสั้นๆว่า RB หรือ เหล็ก RB    เหล็กเส้นกลมเป็น เหล็กพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องใช้เหล็ก เพราะทุกโครงการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้เหล็กเส้นกลม เป็นเหล็กที่ใช้งานจำนวนมากและใช้งานสม่ำเสมอ 

เหล็กเส้นกลม คือเหล็กเสริมคอนกรีตชนิดหนึ่ง

เหล็ก SR24 (Steel Round 24) ขนาดความยาว 10 เมตร (เหล็กพับ) และ12 เมตร (เหล็กตรง) เหล็กเส้นกลม SR24 เหมาะสำหรับงาน ก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น อาคารพาณิชย์ บ้าน และงานก่อสร้างทั่วๆ ไป ,งานก่อสร้างเสริมคอนกรีต เช่น อาคารพาณิชย์, สำนักงาน, ที่พักอาศัย, บ้านเรือนทั่วไป, งานเฟอร์นิเจอร์, สะพาน, ทำรั้ว, ถนน, พื้น, วัสดุอุปกรณ์งานการเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เหล็กเส้นกลมผลิตตามมาตรฐาน มอก. 20-2543 ชั้นคุณภาพ SR24 เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 มม. – 34 มม. ขนาดความยาว 10 เมตร และ 12 เมตร Round Bars Round Bars are suitable for using as reinforced bars for small and medium buildings such as commercial buildings and houses. The round bars are made to the TIS 20-2543. The standard sizes are 6-34 mm. at 10 and 12 meter long. ตัวอย่างขนาดเหล็กเส้นกลม 

ชื่อเรียก ความหนา (mm.) นน.ต่อเมตร (kg./m.) นน.ต่อเส้นพับ (kg./10m.) นน.ต่อเส้นตรง (kg./12m.)
SR 6 6 0.222 2.22 -
SR 9 9 0.499 4.99 -
SR 12 12 0.888 8.88 10.656
SR 15 15 1.387 13.87 16.664
SR 19 19 19 19 26.712
SR 25 SR 25 3.853 38.53 46.236


เหล็กกลมผิวเรียบ SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc.(กก./ตร.ซม.) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ เช่น RB6 (หมายถึง Round Bar ขนาด ศก.6 มม.), RB9, RB12, RB15, RB19, RB25 เนื่องจากผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบจึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้งานเหล็กเส้นขนาดต่างๆ

เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง หรือเรียกสั้นๆว่า RB ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.28/2529,32/2532 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้คือ เหล็ก บลส. บกส. TSC และ NS RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปอกเสา และปอกคาน RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่างๆ RB19  ใช้สำหรับงานทำถนน RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

25571221_093959_product_24_800_600

ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม

* ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว * เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น * เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย * เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล

ลักษณะการใช้งานเหล็กเส้นกลม

  •  ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก
  • ใช้ทำปลอกเสา
  • ใช้ทำปลอกคาน
  • ไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ
  • ใช้ทำเป็นตะแกรงไวร์เมช ตะแกรงต่างๆ

product_39660_353346544_fullsize เกร็ดความรู้ RB เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ DB เหล็กข้ออ้อย  

ชื่อขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.) ความยาวต่อเส้น (เมตร) พื้นที่ตัดขวาง (ตร.มม.) มวล (กก./ม.)
RB 6 6 10 28.30 0.222
RB 8 8 10 50.30 0.395
RB 9 9 10 63.60 0.499
RB 10 10 10 78.50 0.616
RB 12 12 10 113.10 0.888
RB 15 15 10 176.70 1.387
RB 19 19 10 283.50 2.226
RB 22 22 10 380.10 2.984
RB 25 25 10 490.90 3.853
RB 28 28 10 615.80 4.834
RB 34 34 10 907.90 7.127

ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้น

เรามาดูความแตกต่างของเหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้นข้ออ้อยกัน

เหล็กเส้นก่อสร้าง (Reinforced Steel Bar) หรือที่บางคนเรียกว่าเหล็กเสริม เป็นผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด ใช้ในการรับแรง สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป เหล็กเส้นมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และเหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ  มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากประมาณ 2400 ksc. ผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบจึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับ คอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะของเหล็กเส้นกลมที่ดีต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ไม่มีรอยปริแตก ไม่มีปีก ไม่เบี้ยว ไม่มีลูกคลื่น

เหล็กเส้นข้ออ้อย คือเหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง และอาจมีครีบ ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องๆอยู่ตลอดเส้น เพื่อเสริมกำลังยึดเกาะให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น มีหลายชนิด แตกต่างกันที่ส่วนผสมของเนื้อเหล็ก โดยมีส่วนประกอบทางเคมีที่ต่างกัน เช่น เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ ซึ่งหมายความว่าเหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ และจะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักมากกว่า การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเ้ส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ในปัจจุบันการก่อสร้างนิยมใช้เหล็กข้ออ้อยมากกว่าเหล็กเส้นกลม เพราะมีคุณภาพสูงกว่า ทั้งด้านแรงดึงที่จุดคราก และแรงยึดเกาะคอนกรีต นอกจากนี้สัดส่วนการใช้เหล็ก SD50 แล SD40 ยังเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า SD30 อีกด้วย เนื่องจากในการก่อสร้างการใช้วัสดุที่เหมาะสมช่วยหลีกเลี่ยงการยุบตัวของสิ่งก่อสร้าง ความล้มเหลวของการก่อสร้างและสามารถทน ต่อแรงแผ่นดินไหว ดังนั้นการใช้เหล็กที่มีคุณภาพจะได้เปรียบกว่า การใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการฟื้นฟูบูรณะในระยะต่อมาเมื่ออาคารมีการยุบ *** การเลือกใช้งานต้องดูว่างานที่ต้องการใช้นั้นเหมาะกับเหล็กเส้นกลม หรือเหล็กเส้นข้ออ้อย

แชร์ให้เพื่อน