mfg

เหล็กเส้นข้ออ้อย


แชร์ให้เพื่อน

เหล็กข้ออ้อย หรือเหล็กเส้นข้ออ้อย

จำหน่ายเหล็กเส้นข้ออ้อยทุกไซส์ ทุกขนาด มาตรฐาน มอก. สอบถามได้เลย

เหล็กเส้นข้ออ้อย คือเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น

เหล็กเส้นข้ออ้อย มีลักษณะเป็นเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้องๆ อยู่ตลอดเส้น เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น

เหล็กเส้นข้ออ้อย มีชั้นคุณภาพต่างๆ เช่น SD30, SD40, SD50 ซึ่งแสดงถึงกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ

เหล็กเส้นข้ออ้อย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 – 32 มิลลิเมตร และมีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร


เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10(หาในตลาดทั่วไปยาก), DB12(หมายถึง Deformed Bar ขนาด ศก.12มม.), DB16, DB20, DB25, DB28, DB32 ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องเพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น
การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ชนิดและความแตกต่างของเหล็กเส้น
ความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ

เหล็ก SD (Steel Deformed Bar) ก็คือเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตประเภทข้ออ้อย หรือเหล็กข้ออ้อย ตามที่เรียกกันทั่วไปส่วนเลขต่อท้าย คือชั้นคุณภาพซึ่ง มอก. 24-2548 ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ (มาตรฐานบังคับคือใครจะผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานบังคับอยู่ ต้องผลิตให้ได้ตามมาตรฐานเท่านั้น เช่นสินค้าพวกเหล็กก่อสร้าง เนื่องจากเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน)
ทำให้เหล็กข้ออ้อย ต้องได้มาตรฐาน มอก. กำหนด โดยผูผลิตเหล็กเส้นในปัจจุบันมีดังนี้

เหล็กเส้น มอก.โรงใหญ่ แบนด์ TATA , BSI , BSBM , SKY, TY , SSS , บลกท , TDC , TSC , MILLCON, ZUBB , PSL , TSB , แบนด์ใหม่TXS ไทยซิง สตีล

เหล็กข้ออ้อยมีมาตรฐานและรายละเอียดดังนี้

SD – 40 หมายถึง กำลังจุดครากของเหล็ก 4,000 kg/cm2
SD – 50 หมายถึง กำลังจุดครากของเหล็ก 5,000 kg/cm2

SD40, SD50 ขนาดความยาว 10, 12 เมตร เหมาะสำหรับใช้งานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง, คอนโดมิเนียม, สะพาน, ถนนคอนกรีต, เขื่อน, สนามบิน, อุปกรณ์การเกษตร และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ โดยมีรายละเอียดขนาดและน้ำหนักดังนี้

Size ความหนา (mm.) ความยาวต่อเส้น (เมตร) นน./ม. (kg./m.) นน./เส้นพับ (kg./10m.) นน./เส้นตรง (kg./12m.)
SD 10 10 10 0.616 6.17 7.404
SD 12 12 10 0.888 8.88 10.656
SD 16 16 10 1.578 15.78 18.936
SD 20 20 10 2.466 24.66 29.592
SD 25 25 10 3.853 38.53 46.236
SD 28 28 10 4.834 48.34 58.008
SD 32 32 10 6.313 63.13 75.756


การเลือกใช้งานเหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อย

เหล็กข้อกลม VS. เหล็กข้ออ้อย
เหล็กเสริมในคอนกรีตแบ่งง่ายๆ เป็นสองประเภท คือ เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB) และเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars : DB) เหล็กเส้นกลมจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 6 – 25 มม.ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 10 – 32 มม. เหล็กทั้งสองประเภท จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันโดยจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลักเนื่องจากรับแรงได้ดีกว่า และใช้เหล็กเส้นกลม ขนาดหน้าตัดเล็กกว่าเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กข้ออ้อยเป็นระยะๆ สังเกตง่ายๆ คือ

ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ
ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า

เหล็กที่ดี มีคุณภาพจะตรวจสอบได้อย่างไร?
เหล็กเส้นก็เปรียบเหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป คือจะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่

* บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)
* ชั้นคุณภาพ (Grade)
* ขนาด(Size)
* ความยาว (Length)
* วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)
* เครื่องหมาย มอก.

 

การใช้งานเหล็กข้ออ้อย

  • ใช้ทำตะแกรงไวร์เมช 
  • ใช้เสริมคอนกรีต เช่นหล่อเสา
  • ใช้ผูกเป็นไวร์เมช 
  • ใช้ทำปลอกเสา
  • ใช้ทำปลอกคาน
  • เป็นต้น 

1251040247
ภาพจาก : bloggang เขียนโดย Jongweimin

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jongweimin&group=2&month=08-2009&date=23

ขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อยในปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานบังคับ มอก. 24-2548 ซึ่งได้รับการปรับปรุงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย ที่ มอก.24-2536 สาระสำคัญประการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของเหล็กข้ออ้อยในครั้งนี้ ได้แก่การอนุญาตให้มีการผลิตเหล็กข้ออ้อยโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (heat treatment rebar หรือ tempcored rebar)  โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องจัดทำเครื่องหมายที่เหล็กข้ออ้อยโดยใช้สัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนถาวรบนเนื้อเหล็กตามหลังชั้นคุณภาพที่ผลิตขึ้น ดังนั้นเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ในชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 จึงปรากฏสัญลักษณ์ตัวนูนเป็น SD40T และ SD50T ตามลำดับ  ดังที่กำหนดไว้ตามข้อ 7.1 ในหมวดของเครื่องหมาย และฉลากของมาตรฐานบังคับฉบับดังกล่าว
ภายหลังจากอนุญาตให้ผลิตเหล็กข้ออ้อยตามมาตรฐานนี้เมื่อปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน ผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้ปรับมาใช้วิธีการผลิตเหล็กข้ออ้อยด้วยกรรมวิธีความร้อนทั้งสิ้น ทำให้เหล็กข้ออ้อยการผลิตในชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 ที่ปราศจากตัวนูนอักษร “T” มีปริมาณน้อย การพิจารณาถึงข้อกำหนดในรายการประกอบแบบ (specification) ที่ระบุชั้นคุณภาพไว้เป็นเพียง SD40 และ SD50 จึงเป็นปัญหาด้านการยอมรับจากเจ้าของโครงการ ทั้งส่วนราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๆ ที่การระบุอักษร “T” เป็นเพียงทำให้ผู้ใช้ทราบถึงกรรมวิธีการผลิตเท่านั้น ไม่ได้เป็นชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยแต่อย่างใด ทั้งนี้มีประเด็นในข้อสงสัยประกอบไปด้วย การต่อเหล็กเส้น (bar splices) โดยการเชื่อมไฟฟ้า (welding) หรือการทำเกลียว เพื่อทำข้อต่อทางกล (mechanical coupler) การดัดโค้ง (bending) และความทนทานต่อไฟ (fire resistance) 

1. การผลิตเหล็กเส้นโดยกรรมวิธีความร้อน
หลักการผลิต และขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนนั้น จะเริ่มต้นด้วยกระบวนการรีดร้อนเช่นเดียวกับเหล็กข้ออ้อยปกติ โดยภายหลังจากการรีดร้อนแท่นสุดท้ายที่ทำให้เหล็กข้ออ้อยมีขนาดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว เหล็กเส้นดังกล่าวจะผ่านกระบวนการทำให้เย็นโดยการฉีดสเปรย์น้ำ  เหล็กเส้นจะเกิดการเย็นตัวเร็วกว่าการเย็นในอากาศปกติ จนได้การเย็นตัวที่เหมาะสมพอแล้วจึงหยุดการฉีดสเปรย์น้ำ โครงสร้างของเหล็กเส้นบริเวณขอบด้านนอกที่โดนน้ำจึงเกิดเปลี่ยนแปลงเป็นเฟสที่มีความแข็งสูง ในขณะที่โครงสร้างบริเวณใจกลางของเหล็กเส้นจะยังคงมีความร้อนอยู่ และยังไม่เกิดการเปลี่ยนเฟส   บริเวณแกนกลางของเหล็กเส้นก็จะเริ่มเย็นตัวในบรรยากาศ และแผ่ความร้อนจากด้านในออกมาบริเวณผิวของเหล็กข้ออ้อย  ด้วยความร้อนดังกล่าวจึงทำให้เกิดกระบวนการอบคลายความเครียดของโครงสร้างบริเวณขอบของเหล็กเส้นที่มีความแข็ง ในขณะที่โครงสร้างบริเวณแกนกลางของเหล็กเส้นก็จะเย็นตัวจนถึงอุณหภูมิห้อง  และท้ายที่สุดจึงได้เหล็กเส้นที่มีสมบัติทางกลตามที่ต้องการ และเรียกเหล็กเส้นที่ผลิตชนิดนี้ว่าเป็น   “TEMP-CORE”  ซึ่งแสดงถึงกรรมวิธีที่ทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วบริเวณขอบ และอบคลายความเครียดตกค้างการแผ่ความร้อนจากแกนกลางออกมาด้านนอก จัดเป็นกรรมวิธีทางความร้อน (Heat Treatment) ประเภทหนึ่ง ด้วยกระบวนการผลิตดังที่กล่าวมานี้ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเหล็กเส้นที่มีการเติมธาตุ C และ Mn ที่น้อยกว่าการผลิตเหล็กข้ออ้อยด้วยการปรุงแต่งทางเคมีปรกติ โดยที่เหล็กข้ออ้อยยังมีสมบัติทางกลทั้งในด้านความแข็งแรง และความเหนียวที่เท่าเทียมกัน  อย่างไรก็ตามเหล็กเส้นที่ผลิตจากกรรมวิธีทางความร้อนจะมีความแข็งแรงมากที่ขอบมากกว่าแกนใน จึงควรหลีกเลี่ยงการกลึง หรือลดขนาดเหล็กอย่างมากก่อนนำไปใช้งาน

2. การต่อเหล็กเส้น
ตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง วสท.1008-38 [3] ข้อ 4513 อนุญาตให้ทำการทาบเหล็ก (lapped splice) ได้เฉพาะเหล็กเส้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่โตกว่า 36 มม.  ซึ่งหากเหล็กเส้นมีขนาดโตกว่าที่กำหนดไว้ ต้องทำการต่อเหล็กเส้นด้วยการต่อเชื่อม (welding) หรือการใช้ข้อต่อทางกล (mechanical coupler) ซึ่งอาจมีผลกระทบโดยตรงหากใช้เหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน 

          2.1 การต่อเชื่อมของเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (SD40Tและ SD50T)
เหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน SD40 T และ  SD50T จะใช้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาคของ
เหล็กภายหลังการรีดร้อนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในเหล็กเส้นแทนการเพิ่มธาตุผสมลงในเนื้อเหล็ก จึงทำให้มีส่วนประกอบ ทางเคมี ที่ได้แก่ Carbon และ Manganese ต่ำกว่าเหล็กข้ออ้อย SD40 และ SD50 ซึ่งในการเชื่อมเหล็กที่มีค่าคาร์บอนเทียบเท่า (carbon equivalent (CE) ได้แก่ %C+% Mn/6) สูง จะทำการเชื่อมได้ยากกว่าเหล็กที่มีค่า CE ต่ำ จึงทำให้เหล็กข้ออ้อย SD40T และ SD50T สามารถนำไปใช้ในงานเชื่อมได้ดีกว่าเหล็กข้ออ้อย SD40 และ SD50 อย่างไรก็ตามเพื่อหลีกเลี่ยงการแตกร้าวของรอยเชื่อมในเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนซึ่งรอยเชื่อมเย็นตัวเร็วกว่าการอบอ่อนจึงมีความเสี่ยงต่อการเกอดร้อยร้าวขนาดเหล็ก จึงควรพิจารณาดำเนินการป้องกันโดยการบ่มทั้งในช่วงก่อนให้ความร้อน (pre-heat) และหลังจากเสร็จสิ้นการเชื่อม (post-heat)
นอกจากนี้ ในการเชื่อมเหล็กนั้นกำลังของรอยเชื่อมจะขึ้นอยู่กับชนิดลวดเชื่อม วิธีการเชื่อม ความเร็วในการเชื่อม
ความสามารถของผู้เชื่อม โดยปกติความแข็งแรงของจุดที่เชื่อมจะสูงกว่าความแข็งแรงของเหล็กเดิมมาก อันเนื่องมาจากเลือกใช้ลวดเชื่อม และสารเติม ที่เมื่อเชื่อมแล้วจะให้ความแข็งแรงของรอยเชื่อมสูงกว่าเหล็กเดิม โดยเมื่อทำการเชื่อม ลวดเชื่อมจะหลอมละลายรวมกับเนื้อเหล็กเดิม ทำให้ได้รอยเชื่อมที่แข็งแรงกว่าเนื้อเหล็กทั้งสองข้าง ซึ่งตรงกับข้อกำหนดของ วสท.1008-38 ข้อ 4513 (ค) 3 ที่ระบุว่าการต่อเชื่อมอย่างสมบูรณ์ต้องต่อชน (butt joint) ดังแสดงในรูปที่ 1 และเชื่อมเพื่อให้สามารถรับแรงดึงอย่างน้อยร้อยละ 125 ของกำลังครากระบุของเหล็กเส้นนั้น ซึ่งจำเป็นที่ต้องทำการทดสอบกำลังรับแรงดึงของรอยเชื่อมให้ได้ตามที่ระบุไว้ดังกล่าวข้างต้นด้วย 

 

 

รูปที่ 1 การเชื่อมชนของเหล็กข้ออ้อย [2] แบบร่องรูปอักษร V

 

 

รูปที่ 1 การเชื่อมชนของเหล็กข้ออ้อย [2] แบบร่องรูปอักษร V

   2.2 การใช้ข้อต่อทางกลเพื่อต่อเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (SD40Tและ SD50T)
จากความเข้าใจของผู้ใช้งานเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนที่ พบว่าความแข็งแรงของเหล็กข้ออ้อย
ตามชั้นคุณภาพต้องใช้งานเต็มหน้าตัดของเหล็กเส้น เหล็กเส้นที่ผ่านการลดขนาดโดยการกลึงจะมีผลทำให้ได้กำลังเท่ากับกำลังของเหล็กด้านกลางภายในที่อาจมีกำลังที่ต่ำกว่า แต่จากเทคโนโลยีและการคำนวณเพื่อหาระยะเกลียวสั้นที่สุดที่ทำให้ระบบเกลียวมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะใช้งานโดยไม่เกิดความเสียหายจากแรงต่าง ๆ โดยจะพิจารณาจากกำลัง หรือความแข็งแรงของจุดต่อ ค่าความแข็งแรงและค่ากำลังดึงของจุดต่อที่ใช้ข้อต่อจะขึ้นอยู่กับขนาดของเกลียว ความแข็งแรงของเหล็กข้ออ้อย พื้นที่หน้าตัดของเหล็กเส้นในการรับแรงดึงและแรงเฉือนต่อหน่วยความยาวของเกลียวเหล็กเส้น
ในปัจจุบันเทคโนโลยีการต่อเหล็กเสริมโดยข้อต่อทางกลที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ระบบ soft cold forging ซึ่งเป็นการขึ้นรูปเย็นที่ปลายชิ้นงานทำให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าเดิม ก่อนจะนำไปทำเกลียว เพื่อชดเชยพื้นที่ในการรับแรงที่สูญเสียไปจากการทำเกลียว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเหล็ก SD40 SD50 หรือ SD40T SD50T จึงสามารถใช้การเชื่อมต่อโดยข้อต่อทางกลได้โดยไม่มีผลกระทบกับองค์อาคารหรือโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้การต่อเหล็กเสริมนี้ต้องปฏิบัติตามข้อ กำหนดของ วสท.1008-38 ข้อ 4513 (ค) 4 ที่ระบุว่าการต่อโดยใช้ข้อต่อทางกลอย่างสมบูรณ์ต้องสามารถรับแรงดึงหรือแรงอัดอย่างน้อยร้อยละ 125 ของกำลังครากระบุของเหล็กเส้นนั้นซึ่งจำเป็นที่ต้องทำการทดสอบกำลังรับแรงดึงของรอยต่อให้ได้ตามที่ระบุไว้ดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน 

3.  การดัดโค้ง
การดัดเหล็กเส้นเพื่อทำเป็นของอมาตรฐานในส่วนปลายของเหล็กเสริมเพื่อใช้ฝังยึดในคอนกรีตสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก วสท.1008-38 ข้อ 3403 (ก) กำหนดว่าต้องใช้วิธีดัดเย็น (cold bend) เท่านั้น  และขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กสุดของวงโค้งที่ดัดตาม วสท.1008-38 ข้อ 3402 ได้กำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กสุดของการดัดเป็น 6 เท่า  8 เท่า และ 10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นที่มีขนาด  6-25 มม. 28-36 มม. และ 44-57 มม. ตามลำดับ และมีขนาดโตกว่าที่กำหนดไว้สำหรับการทดสอบการดัดโค้ง (cold bend test)  ที่ระบุใน ตารางที่ 9 ข้อ 9.6 ใน มอก.24-2548 ซึ่งหากการทดสอบการดัดโค้งตามข้อกำหนดของ มอก.24-2548 แล้ว สามารถใช้เป็นงานเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย

   นอกจากนั้นสำหรับการกำหนดรอยต่อก่อสร้างขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก วสท. 1008-38 ข้อ 3403 (ข) ยังห้ามไม่ให้มีการดัดปลายเหล็กเส้นข้างที่โผล่จากคอนกรีตในที่ นอกจากจะแสดงไว้ในแบบหรือวิศวกรอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

รูปที่ 2 การดัดโค้งของเหล็กข้ออ้อย
รูปที่ 2 การดัดโค้งของเหล็กข้ออ้อย

 

4.  ความทนทานต่อไฟ (fire resistance)
 ผลงานวิจัยของ R.Felicetti [7]  ที่ทำการศึกษาเพื่อหากำลังของเหล็กเส้นที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (temped core rebar) เปรียบเทียบกับเหล็กเส้นที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน (carbon steel rebar)     โดยนำไปอบ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ  และปล่อยให้เย็นตัว จากนั้นจึงมาทำการทดสอบแรงดึง ได้ผลทดสอบดังแสดงในรูปที่ 3

 

(ก) เหล็กเส้นที่ผลิตโดยกรรมวิธีความร้อน
(ก) เหล็กเส้นที่ผลิตโดยกรรมวิธีความร้อน

 

 

(ข) เหล็กเส้นที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน รูปที่ 3 หน่วยแรง และความเครียดของเหล็กเส้นที่ถูกอบ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ
รูปที่ 3 หน่วยแรง และความเครียดของเหล็กเส้นที่ถูกอบ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ

รูปที่ 3 หน่วยแรง และความเครียดของเหล็กเส้นที่ถูกอบ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ[/caption]

 

 ผลการศึกษาพบว่าที่อุณหภูมิ 700C และ 850C  กำลังดึงของเหล็กเส้นทั้ง 2 ประเภท  จะลดลงมากเมื่อเทียบกับกำลังที่อุณหภูมิ 20C โดยกำลังครากของเหล็กเส้นที่ผ่านกรรมวิธีความร้อน จะลดลงจาก 496 MPa เหลือประมาณ 300 MPa ที่อุณหภูมิ 850C ส่วนกำลังครากของเหล็กเส้นผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนจะลดลงจาก 427 MPa เหลือประมาณ 320 MPa ที่อุณหภูมิ 850C ซึ่งจากงานวิจัยนี้จะพบว่ากำลังของเหล็กเส้นทั้งสองประเภท หลังถูกอบที่ 850C จะมีกำลังครากลดลงเหลือประมาณ 300-350 MPa  จึงมีความแตกต่างด้านสมบัติการรับแรงดึงไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ

รูปที่ 4 กำลังดึงของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตกับลวดอัดแรง [6]
รูปที่ 4 กำลังดึงของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตกับลวดอัดแรง [6]

 จากรูปที่ 4 เป็นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังดึงของเหล็กข้ออ้อยและลวดอัดแรง (prestressing wire) กำลังสูงมากที่ผลิตจากกระบวนการลดขนาดดึงเย็น (cold drawn) ณ อุณหภูมิต่าง  ๆ           จะพบว่า ค่ากำลังดึงของเหล็กข้ออ้อยจะลดลงตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น และจะเริ่มลดลงอย่างมากที่อุณหภูมิประมาณ 400 oC  ในขณะที่กำลังของลวดอัดแรง จะลดลงตั้งแต่อุณหภูมิ 200 -300 oC    ดังนั้นเหล็กเสริมคอนกรีตจึงมีสมบัติความทนทานต่อไฟได้ดีกว่าลวดอัดแรง
เมื่อนำเหล็กเส้นมาใช้เสริมกำลังของคอนกรีต และมีระยะหุ้ม (concrete covering) อย่างเพียงพอตามประเภทขององค์อาคารดังปรากฏอยู่ใน วสท. 1008-38 ข้อ 3407 แล้ว จะมีอัตราการทนทานต่อสภาพแวดล้อมเพียงพอ และหากมีความจำเป็นที่ต้องการสมรรถนะต่อการทนไฟ วสท. 1008-38 ข้อ 3407 (ฉ) ได้กำหนดให้มีระยะหุ้มไม่ต่ำว่าค่าที่กำหนดโดยบทบัญญัติเกี่ยวกับอาคาร ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2549) [4] ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่กำหนดความหนาน้อยสุดของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมสำหรับแต่ละชนิดของโครงสร้างเอาไว้
เช่น เสาหรือคานต้องมีระยะหุ้ม 40 มม. เพื่อทำให้โครงสร้างหลักดังกล่าวมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง หรือแผ่นพื้นที่ต้องมีระยะหุ้มอย่างน้อย 20 มม. เพื่อให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง  

 

 

5. ข้อเสนอแนะในการใช้เหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน
1. เหล็กข้ออ้อยที่มีสัญลักษณ์ตัวนูน “T” เป็นเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนเท่านั้นโดยยังคงมีชั้นคุณภาพตามที่กำหนดไว้ใน มอก. 24-2548 ทุกประการ
2. สมบัติทางกลของเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนซึ่งประกอบไปด้วยกำลังดึง ความยืด และการดัดโค้งไม่แตกต่างกับเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตจากการปรุงแต่งด้วยธาตุ
3. สมรรถนะในการต่อเหล็กเส้นที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนไม่มีความแตกต่างกับเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตจากการปรุงแต่งด้วยธาตุ ทั้งนี้ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และต้องจัดให้มีการทดสอบกำลังดึงของจุดต่อให้เป็น ไปตามมาตรฐาน และหลักปฏิบัติที่ดี
4. ความทนทานต่อไฟไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และหากนำไปใช้เสริมคอนกรีต และกำหนดระยะหุ้มให้เป็นไปตามมาตรฐาน และกฎหมายจะมีสมรรถนะในการต้านทานไฟที่ดี ไม่แตกต่างกัน
5. ในคราวการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตครั้งต่อไป คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 9 จะพิจารณาขอบข่าย และการกำหนดสำหรับเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนให้ชัดเจนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้มีความมั่นใจ และเข้าใจผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ให้มากยิ่งขึ้น

โดย รศ.เอนก ศิริพานิชกร
ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท.
รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มจธ.
กรรมการจรรยาบรรณ และอนุกรรมการมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ สภาวิศวกร
ประธานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (กว.9) สมอ.

เอกสารอ้างอิง
(1) มอก. 24-2548, “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต :เหล็กข้ออ้อย”, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, พ.ศ.2548
(2) มยผ.1103-52,  “ มาตรฐานงานเหล็กเสริมคอนกรีต”, กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย, พ.ศ. 2522
(3) วสท. 1008-38, “มาตรฐานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวีธีกำลัง”, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พ.ศ.2538
(4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 60  ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123  ตอนที่ 70 ก, กรกฎาคม 2549
(5) IFI Technical Bulletin, “Calculating Thread Strength” , The Industrial Fasteners Institute of Independence USA,  March 2009.
(6) European Standard  EN 1992-1-2:2004 (E) : Eurocode 2,” Design of Concrete Structures – Part 1-2, General rules – Structural Fire Design, 2004.
(7) R. Felicetti [2]  et al., “Construction and Building Materials 23”  page 3548, 2009.

 

แชร์ให้เพื่อน