mfg

ฟุตติ้งสำเร็จรูป


แชร์ให้เพื่อน

ฟุตติ้งสำเร็จรูป  Footingสำเร็จรูป,ฐานรากสำเร็จรูป

จำหน่ายฟุตติ้งสำเร็จรูป และดัดเหล็กฟุตติ้งตามขนาดที่ต้องการ

ประโยชน์ของการใช้ฟุตติ้งสำเร็จรูป

  1. ช่วยให้การทำงานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้นจึงประหยัดค่าแรง
  2. ช่วยลดการสูญเสียเศษเหล็ก
  3. สามารถสั่งทำได้ตามขนาดที่ต้องการผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาดัดเอง
  4. ประหยัดเวลา ไม่เหลือเศษ หน้างานสะอาด
  5. ประหยัดแรงงาน และควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี
  6. สนใจสั่งได้เลยครับ

ในการก่อสร้างและวิศวกรรมการทำงานก่อสร้างสมัยนี้ มีนวัตกรรมและความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และทำให้การก่อสร้างง่ายมากขึ้น ฐานรากหรือฟุตติ้งที่ช่างหรือวิศวกรเรียกถือว่า เป็นส่วนสำคัญมากๆในงานก่อสร้างเพราะเป็นพื้นฐานของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ นั่นเอง

ฐานราก หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า “ฟุตติ้ง” คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสาแล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งในปัจจุบันมี ฟุตติ้งสำเร็จรูป จำหน่ายและสามารถสั่งทำตามแบบได้

เราคงเคยได้ยินคำว่า “ฐานราก” และ “ตอม่อ” มาบ้าง แต่อาจไม่ทราบว่าคืออะไร อยู่ส่วนไหนของบ้าน มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไรในโครงสร้างบ้าน ฐานราก และ ตอม่อนั้น เป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงสร้างบ้านที่อยู่ใต้ดิน ที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของตัวอาคารหรือบ้านทั้งหลัง ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน มักเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะอยู่ในชั้นดินที่มีความชื้น จึงต้องมีคุณสมบัติในการทนต่อความชื้นได้ดี

เรามาทำความรู้จักกับ ฟุตติ้ง หรือฐานรากกันก่อนว่าเป็นอะไร และมีความสำคัญอย่างไรกันครับ

ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ
ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินที่มีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินที่ตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น พื้นที่ดินลูกรัง พื้นที่ภูเขาทะเลทราย
ฐานรากลึก (Deep Foundation) หรือแบบมีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะ แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ประเภทของฐานราก ทั้งฐานรากชนิดตื้นและชนิดลึก มีลักษณะของการก่อสร้างและความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้

ฐานแผ่เดี่ยว (Spread Footing) หมายถึงฐานรากที่รับน้ำหนักจากเสาอาคาร เพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน ความหนาของตัวฐานต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น ในบางกรณีที่เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่นอยู่ติดเขตที่ดินอาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เราเรียกว่าฐานรากแบบนี้ว่า ฐานรากตีนเป็ด

ฐานรากแผ่เดี่ยวที่ดี ตำแหน่งของตอม่อจะอยู่ศูนย์กลางของฐานราก แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสร้างชิดแนวเขตที่ดิน ซึ่งฐานรากไม่สามารถล้ำเข้าไปในเขตที่ดินเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ วิศวกรจะออกแบบให้ตำแหน่งตอม่อวางอยู่ด้านใดด้านนึงของฐานราก เรียกว่า “ฐานรากตีนเป็ด หรือฐานรากชิดเขต (Strap Footing)” โดยต้องมีการออกแบบโครงสร้างคานยึดโยงกับฐานรากตัวอื่น เพื่อให้เกิดความเสถียร

ฐานต่อเนื่องรับกำแพง (Continuous Footing) หมายถึงฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากผนังก่ออิฐ หรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารหลายๆ ชั้น ขนาดความกว้างของฐานรากขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่กดลงสู่ฐานราก

ฐานแผ่ร่วม (Combined Footing) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากเดี่ยวที่สมมาตรได้ ซึ่งฐานรากที่ไม่ สมมาตรนี้เมื่อรับน้ำหนักที่ถ่ายลงบนฐานไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงเยื้องศูนย์ อาจทำให้อาคารทรุดตัวได้

ฐานรากแผ่ร่วม (Combined Footings) คือฐานรากที่มีตอม่อมากกว่า 2 ต้นขึ้นไปอยู่รวมในฐานรากเดียวกัน มักใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทำฐานรากแผ่เดี่ยวแยกกันได้ เช่น บ้านที่มีช่วงเสาห่างกัน ประมาณ 1.5 – 2 เมตร

ฐานรากชนิดมีคานรัด (Cantilever Footing) เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากที่สมมาตรได้อีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับเสาของอาคารที่มีความจำเป็นต้องสร้างประชิดติดกับอาคารเดิม หรือแนวเขตดินที่ไม่สามารถวางตาแหน่งของฐานให้ ตรงกับแนวเสาตอม่อได้ จึงออกแบบให้มีคานคอนกรีตแบกรับน้ำหนักจากเสาตอม่อ

ฐานรากแพ (Mat or Raft Foundation) เป็นฐานร่วมขนาดใหญ่ใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาหลายๆ ต้น โดยจะแผ่บนพื้นที่กว้างๆ บางครั้งจะใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาทุกต้นของอาคารก็ได้โดยมากแล้วเราจะใช้ฐานแพกับอาคารสูง ข้อดีของฐานรากชนิดนี้เมื่อเทียบกับฐานรากเดี่ยวคือ กระจายน้ำหนักสู่ดิน หรือหินเบื้องล่างได้ดีกว่า และปัญหาการทรุดตัวต่างระดับแทบหมดไป เพราะฐานรากชนิดนี้มีความต่อเนื่องกันตลอดโยงยึดกันเป็นแพ แต่การก่อสร้างจะยุ่งยาก และสิ้นเปลือง

ตอม่อ คือ ส่วนประกอบของโครงสร้างบ้านที่วางอยู่บนฐานราก ทำหน้าที่รับน้ำหนักบ้านต่อจากคานคอดินแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากต่อไป

ฐานรากแผ่ปูพรม (Mat or Raft Foundation) มีลักษณะเป็นฐานแผ่ร่วมขนาดใหญ่เป็นผืนเดียวกันทั้งหมด เสาทุกต้นจะวางอยู่บนฐานรากนี้ มักใช้ในกรณีที่ดินมีความสามารถในการรับแรงน้อย ซึ่งส่งผลให้ต้องมีเสาค่อนข้างถี่ การทำฐานรากร่วมกันจึงทำได้ง่ายกว่า และเพิ่มความแข็งแรงในการรบน้ำหนักได้มากขึ้น

ฐานรากที่มีเสาเข็มรองรับ (Pile Foundation) เหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน ต้องอาศัยเสาเข็มในการถ่ายเทน้ำหนักไปยังชั้นดินแข็งที่อยู่ลึกลงไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีระยะความลึกของชั้นดินแข็งไม่เท่ากัน เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีความลึกของชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. ซึ่งหมายถึงความยาวของเสาเข็มที่รองรับในแต่ละพื้นที่นั่นเอง

แหล่งข้อมูล – สาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่

ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงของฐานราก
ความแข็งแรงของตัวฐานรากเอง ซึ่งหมายถึงโครงสร้างส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กความสามารถในการแบกรับน้ำหนักของดินใต้ฐานรากการทรุดตัวของดินใต้ฐานราก ควรเกิดขึ้นได้น้อย และใกล้เคียงกันทุกฐานราก

รูปจาก SCG

 

การก่อฟุตติ้ง

TIPS:

การเท “ลีน” (Lean) คืออะไร
Lean คือ คอนกรีตหยาบ ใช้สำหรับเทบนพื้นดินที่ปรับระดับแล้ว เพื่อเป็นแบบหล่อท้องคอนกรีตฐานราก คานคอดิน พื้น หรือส่วนของโครงสร้างบ้านที่ต้องสัมผัสกับพื้นดิน Lean ช่วยป้องกันไม่ให้ดินและสิ่งเจือปนอื่นๆ ผสมเข้ากับคอนกรีตฐานราก คานคอดิน จึงทำให้โครงสร้างคอนกรีตแข็งแรงเต็มประสิทธิภาพ

ลูกปูนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ลูกปูน คือ ก้อนปูนซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์ผสมกับทรายและน้ำ) ที่ใช้รองเหล็กเสริมไม่ให้ติดกับแบบหล่อ เป็นการสร้างระยะ Concrete Covering เพื่อให้คอนกรีตที่เทสามารถหุ้มเหล็กเสริมได้ทั้งหมด ป้องกันความชื้นและอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมสัมผัสกับเหล็กเสริม ทำให้เนื้อคอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


ข้อควรระวังในการ ก่อฟุตติ้ง
ฐานรากเป็นส่วนสำคัญที่สุด การเทลีนช่วยให้สามารถ marking ตำแหน่งเสาและฐานได้ง่าย และช่วยป้องกันไม่ให้เหล็กสัมผัสดิน อันจะทำให้เหล็กเป็นสนิมได้หากระยะหุ้มเหล็กกับคอนกรีตน้อยเกินไป ชึ่งไม่ควรน้อยกว่า 5 ซม. ส่วนถ้าไม่เข้าไม้แบบก็จะทำให้เวลาเทคอนกรีตดินข้างบ่ออาจถล่มปนกับคอนกรีตได้ ผมก็สร้างที่เชียงใหม่แต่ก็ให้ทั้งบดอัดดินเดิมให้แน่น เวลาขุดก็ให้รบกวนดินเดิมที่แน่นอยู่แล้วให้น้อยที่สุด เททรายรองพื้นปรับระดับ เทลีนคอนกรีต แล้ว marking เข้าไม้แบบ เพื่อความเรียบร้อยและมีมาตรฐาน การกระทำของผู้รับเหมาของ

ข้อดีของการเทฟุตติ้ง
1.ประหยัดเวลา เพราะมีฟุตติ้งสำเร็จรูป ทำให้ลดเวลาลงได้เยอะ
2.ทำงานง่ายเพราะฟุตติ้งสำเร็จรูป ทำให้งานง่ายขึ้นมาก
3.การเท Footing โดยใช้อิฐทำแบบหล่อคอนกรีต จะทำให้อิฐดูดซึมน้ำจากคอนกรีตได้เร็วกว่าไม้
คอนกรีตจะเสียกำลัง แต่ก็แก้ได้ด้วยการบ่มคอนกรีตให้ดี ขยันรดน้ำให้อิฐชุ่มอยู่ตลอด
4.รับน้ำหนักอาคารได้ดี
5.ประหยัดค่าแรง ลดการสูญเสียเหล็ก

ฟุตติ้งสำเร็จรูป ข้อดีของฟุตติ้งสำเร็จรูป
1.ช่วยให้การทำงานก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้นจึงประหยัดค่าแรง
2.ช่วยลดการสูญเสียเศษเหล็ก
3.สามารถสั่งทำได้ตามขนาดที่ต้องการผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาดัดเอง
4.ประหยัดเวลา ไม่เหลือเศษ หน้างานสะอาด ประหยัดแรงงาน และควบคุมต้นทุนได้เป็นอย่างดี

รับบริการดัดเหล็กฟุตติ้ง และจำหน่ายฟุตติ้ง และ จำหน่ายฟุตติ้งสำเร็จรูป

ฟุตติ้ง,ฟุตติ้งสำเร็จรูป,ฐานราก,ฐานรากสำเร็จรูป,footing สำเร็จรูป,ขายฟุตติ้ง,ดัดฟุตติ้ง

  

 

ฟุตติ้งหล่อสำเร็จ

แชร์ให้เพื่อน