Table of Contents
กรดเกลือ 35%
กรดเกลือ หรือ กรดไฮโดรคลอริก
“กรดเกลือความเข้มข้น 35% ราคาขายส่ง บริการจัดส่งทั่วประเทศ“
ขายกรดเกลือ 35% สนใจสอบถามได้เลยครับ
กรดเกลือขั้นต่ำ (ราคาถูกที่สุดในท้องตลาด)
ถังละ 25 KG,ลิตร
40 ถัง
ถังละ 200 ลิตร
5 ถัง
กรดเกลือ ความเข้มข้น 35%
สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสารเคมีอีกชนิด นั่นก็คือ “กรดเกลือ” ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ หลายอุตสาหกรรม เช่นล้างทำความสะอาด,งานฟอกหนัง ,หรืองานชุบโลหะเป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของกรดเกลือ 35%
กรดเกลือ คืออะไร และมีคุณลักษณะอย่างไร
สูตรเคมี : HCl in water (H2O)
ลักษณะทางกายภาพ : เป็นของเหลว สีขาว ใส
ความหนาแน่น : 1.18g/cm3
ความสามารถในการกัดกร่อน : กรดเกลือมีความสามารถในการกัดกร่อนสูง มักใช้ล้างหรือกัดสิ่งสกปรกหรือสนิม หรือคราบที่ล้างหรือทำความสะอาดยากๆ
ชื่อเรียก : กรดเกลือ หรือ กรดไฮโดรคลอริก
กรดเกลือมีลักษณะจำเพาะดังนี้
1. เป็นของเหลวไม่มีสีหรือมีสีใสออกเหลือง มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน ไม่เป็นสารไวไฟ
2. ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ไอของกรดเกลือเป็นกรดมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ
3. เป็นกรดแก่ กัดกร่อนรุนแรง
4. มีมวล 36.46 กรัม/โมล
5. ความหนาแน่น 1.18 กรัม/ลบ.ซม.
6. จุดหลอมเหลว -27.32 องศาเซลเซียส
7. จุดเดือด 110 องศาเซลเซียส
ลักษณะของกรดเกลือ
- กรดเกลือ 35% เป็นสารละลายใส อาจมีสีเหลือง หรือขาว ขึ้นอยู่กับปริมาณสารเจือปน
- มีควันแสบจมูก โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับน้ำ
- ความถ่วงจำเพาะ 1.05 (10% w/w soln, 1.10(20%), 1.15(29.57%), 1.20 (39.11%)
- กรดเกลือสามารถละลายเข้าได้กับน้ำ พร้อมกับเกิดควัน ที่มีกลิ่นแสบจมูก โดยเมื่อเจือจางกรดนี้ 83 ml ด้วยน้ำจนครบ 1 ลิตรจะได้ ~ 1.0 N HCI (pH ~ 0.10)
- มีการกัดกร่อนสูง จนเรียกว่า “กรด“
Hydrochloric acid 35%
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยนักเล่นแร่แปลธาตุชื่อ จารเบียร์ เฮย์ยัน ซึ่งค้นพบกรดเกลือเป็นคนแรก
ความรู้เรื่องกรดเกลือ
กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก(Hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายไฮโดรเจนคลอไรด์ในน้ำ มีสูตรเคมีคือ HCl มีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งแก๊สและของเหลว
– ถ้าพบในรูปของเหลว เรียกว่า Hydrochloric acid ( กรดเกลือ )
– ถ้ามีสถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า Hydrogen chloride
กรดเกลือเป็นสารที่ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ ผุ กร่อนอย่างรุนแรง
กรดไฮโดรคลอริก ถูกค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน ( Jabir ibn Hayyan ) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Dissocyanate ) สำหรับผลิตโพลิยูริเทน ( Polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็ก เช่น ผลิตเจลาติน ใช้ปรุงอาหาร ใช้ฟอกหนัง
กรดเกลือในห้องปฏิบัติการใช้ในการผลิตสารประกอบคลอไรด์ และใช้ในการแยกแร่ให้บริสุทธิ์ เช่น แร่สังกะสี แทนทาลัม เป็นต้น และมักใช้กรดเกลือ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำยาล้างห้องน้ำ เพราะกรดเกลือมีคุณสมบัติในการกัดกร่อนคราบสกปรก ทำให้การทำความสะอาดสุขภัณฑ์ทำได้ง่าย
กรดเกลือเป็นกรดที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ ในส่วนของกระเพาะอาหารมีกรดเกลือ ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์เปบซิน เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยโปรตีนในกระเพาะอาหาร ช่วยในการย่อยอาหาร
กรดเกลือ จัดเป็นกรดแก่ เนื่องจากมีความสามารถในการแตกตัวได้ 100 % สามารถเขียนสมการแสดงการแตกตัวได้ดังนี้
HCl + H2O ——> H+ + Cl- หรือ
HCl + H2O H3O+ + Cl-
การผลิตกรดไฮโดรคลอริก
การผลิตกรดไฮโดรคลอริกได้จากกระบวนการแยกเกลือด้วยไฟฟ้าเซลล์อิเล็กโทรไลต์จนเกิดก๊าซคลอรีน และก๊าซไฮโดรเจนที่แยกตัวออกจากน้ำ ซึ่งสารสองตัวนี้จะทำปฏิกิริยากลายเป็นกรดไฮโดรคลอริกบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์อื่นที่เกิดในกระบวนการนี้ ได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ นอกจากนั้นยังสามารถผลิตได้ด้วยการละลายก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ในน้ำ Cl2+H2 = 2HCl
ประโยชน์ของไฮโดรคลอริก และการนำไปใช้
– ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี เพราะกรดเกลือ กัดกร่อนดี จึงใช้ในการกัดหนัง ให้นุ่มและง่ายต่อการผลิต
– ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้มากในระบบบำบัดน้ำเสีย เพระกรดเกลือเป็นกรดจึงใช้ปรับสภาพน้ำได้
– กรดเกลือใช้ในอุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ กรดเกลือใช้ในสารเคมีที่ใช้ชุบโลหะ
– ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
– ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ หรือทำความสะอาดคราบสนิม
– ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
– ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำหรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือใช้ฆ่าเชื้อได้โดยตรง
– กรดเกลือใช้ล้างทำความสะอาดคราบที่ทำความสะอาดยาก กรดเกลือใช้ล้างทำความสะอาด
การใช้งานกรดเกลือในขั้นตอนการผลิตสินค้า
กรดเกลือนั้น สามารถนำไปใช้งานได้หลายอย่าง เช่น
* ผลิต pvc ผลิตพลาสติกพวก PVC
* ผลิตพลาสติก
* ผลิตโพลิยูริเทน
ข้อแนะนำ และแนวทางปฏิบัติในการใช้กรดเกลือ
– ควรสวมเครื่องกรองอากาศ, ถุงมือกันสารเคมี, แว่นครอบตา และเสื้อผ้าคลุมตามมาตรฐานของ OSHA/MSHA
– ควรจัดให้มีท่อฝักบัว และอ่างล้างตาในสถานที่ปฏิบัติงาน
– ระวังการสัมผัสถูกซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน
– ควรเก็บภาชนะให้ปิดแน่นเสมอ, เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น, ระวังอาจเกิดแรงดันในภาชนะได้
– ถ้าสัมผัสถูกให้เปิดน้ำล้างบริเวณที่สัมผัสถูก เช่น ตา, ผิวหนัง, ด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อม ๆ ไปกับถอดเสื้อผ้า และรองเท้าที่เปื้อนออก โดยเฉพาะบริเวณดวงตา เพื่อความแน่ใจว่าล้างสารพิษออกหมด ให้ใช้นิ้วมือดึงหนังตา เปิดล้างด้วยน้ำสะอาดด้วย
– ถ้าหายใจเข้าไป ให้นำผู้ป่วยออกมาที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์, ถ้าหายใจติดขัด ให้ออกซิเจน
– ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ วิธีที่ควรใช้คือ ปาก ต่อ ปาก
– ถ้ารับประทาน และผู้ป่วยมีสติให้ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาด
– สุดท้ายรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์
การป้องกันอันตรายจากกรดเกลือ
เนื่องจากกรดเกลือมักจะเป็นพิษต่อทางเดินหายใจ และผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ จึงมีวิธีการป้องกันดังนี้
1. ควรจัดให้ปฏิบัติงานในห้องที่มีระบบระบายอากาศดี
2. ควรสวมแว่นตานิรภัยหรือหน้ากากป้องกันไอกรด
3. ควรสวมถุงมือชนิดยาวถึงศอก หรืรองเท้าที่ทำจาก PVC
ข้อมูลความอันตรายของกรดเกลือ
– เมื่อการสลายตัวหรือทำปฏิกิริยากับโลหะหรือสารอื่นจะทำให้เกิดควันที่เป็นพิษของก๊าซ Hydrogen chloride และเกิดปฏิกิริยาที่มีความไวกับไฟหรือเกิดระเบิดได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับด่าง, amines, โลหะกลุ่มอัลคาไล, ทองแดง, อัลล์ลอยด์ของทองแดง, อลูมิเนียม, เหล็ก
– เกิดปฏิกิริยารุนแรงหากกรดมีความเข้มข้นสูงมีการสัมผัสกับน้ำ
– มีความเป็นพิษสูง และมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมาก ควัน และไอจะระคายเคืองต่อดวงตา, เยื่อบุอ่อน, และทางเดินหายใจส่วนบน
พิษของกรดเกลือที่มีต่อร่างกายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากได้รับอันตรายจากกรดเกลือ
1. ระบบทางเดินหายใจ กรดเกลือทำให้เกิดอาการระคายเคืองจมูก ลำคอ และเยื่อบุทางเดินหายใจ เมื่อสูดดมเข้าไป 35 ppm จะเริ่มเกิดอาการ หากสูดดมเข้าไป 50 – 100 ppm อาการจะรุนแรง ทำให้เนื้อเยื่อบวม จนอุดตันทางเดินหายใจและ suffocation ได้ ผู้ที่ได้รับพิษรุนแรงจะมีอาการหายใจหอบ หายใจไม่ทัน เนื่องจากภาวะอุดกั้นหลอมลมขนาดเล็ก บางรายอาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำซึ่งอันตรายอย่างมาก สำหรับในเด็ก อาจเกิดอาการคล้ายหืดหอบ
2. สมดุลกรด – เบส ในร่างกาย อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รับกรดเกลือในระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานกรดเกลือเข้าไป จะทำให้มีอัตราการเผาผลาญสารอาหารมากกว่าปกติ อาจทำให้เสียชีวิตได้
3. ผิวหนัง เมื่อได้รับพิษจากกรดเกลือโดยการสัมผัสบริเวณผิวหนังในปริมาณมาก จะทำให้เกิดแผลลึกคล้ายไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอาจจะเกิดแผลที่เยื่อบุ หรือถ้าได้รับปริมาณน้อย
( สัมผัสกรดเกลือที่เจือจาง) จะทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบและระคายเคือง หากเกิดในเด็กจะมีความรุนแรงมากกว่าในผู้ใหญ่
4.พิษต่อตา ไอระเหยของไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือกรดเกลือ ทำให้เซลล์กระจกตาตาย เลนต์ตาเกิดเป็นต้อกระจก และความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้นจนเป็นต้อหินได้ กรณีที่สัมผัสกับสารละลายที่เจือจาง จะเกิดแผลที่กระจกตาด้านนอก
5. ระบบทางเดินอาหาร ก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง กลืนลำบาก คลื่นใส้ อาเจียน การได้รับพิษโดยการกินกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น จะทำให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเกิดเป็นแผล ภายในมีเลือดออก แผลอาจทะลุได้
6. ระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษจากการกิน การสัมผัสในปริมาณสูง โดย HCl ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร และระบบสมดุลน้ำและของเหลวในร่างกายเสียไป ทำให้ปอดทำหน้าที่ผิดปกติ
การเก็บรักษากรดเกลือ
วิธีการเก็บกรดเกลือให้ถูกต้องและปลอดภัย
- เก็บในภาชนะสำหรับเก็บกรดเกลือโดยเฉพาะเช่น แกลลอน 25 ลิตร
- เก็บในสถานที่มิดชิด หรือโกดังที่ปิด
- เก็บให้ห่างจากความร้อน เปลวไฟ
- เก็บแยกจากสารเคมีประเภทอื่นๆ
- เก็บในที่แห้ง ปราศจากความชื้น หรือห่างจากแหล่งน้ำ เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง https://en.wikipedia.org/wiki/Hydrochloric_acid