mfg

ขั้นตอนการใช้งานสตีลไฟเบอร์ (Steel Fiber) กับพื้นคอนกรีต


แชร์ให้เพื่อน

ขั้นตอนการใช้งานสตีลไฟเบอร์ (Steel Fiber) กับพื้นคอนกรีต

สตีลไฟเบอร์เป็นวัสดุที่ใช้เสริมความแข็งแรงให้กับพื้นคอนกรีต ในการใช้งานสตีลไฟเบอร์นั้น ไม่ได้มีความยุ่งยาก วันนี้ เราลองมาดูการใช้งานสตีลไฟเบอร์กันดีกว่าครับ ว่าใช้งานอย่างไร  สำหรับช่างมือใหม่ ที่ต้องการใช้งานสตีลไฟเบอร์ หรือเพิ่งเคยใช้สตีลไฟเบอร์ครับ 

วิธีนี้เป็นการเทพื้นคอนกรีตโดยใช้สตีลไฟเบอร์ผสมในคอนกรีต

1. การจัดเตรียมสถานที่
1.1 ในกรณีการก่อสร้างพื้นคอนกรีตวางบนชั้นดินเดิม ชั้นของดินเดิมต้องบีบอัดจนสามารถรับน้ำหนักได้ อาจจะปรับด้วยหินคลุกหรือวัสดุอื่นที่สามารถใช้แทนได้
1.2 สำหรับการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตบนเสาเข็ม ชั้นดินเดิมโดยรอบกลุ่มเสาเข็มจะต้องใช้ซีเมนต์ หรือคอนกรีตแบบหยาบๆ ก่อนทำการเทพื้น 

 

2. การผสมเส้นใยเหล็กผสมลงในคอนกรีตสด (Batching and Mixing of Steel Fibre)
ก่อนทำการผสมเส้นใย สตีลไฟเบอร์ลงในคอนกรีต ควรตรวจสอบคุณสมบัติของคอนกรีตให้แน่ชัดว่า คุณสมบัติของคอนกรีตมีค่าการยุบตัว และปริมาณเส้นใยเหล็กที่ผสมลงใน คอนกรีตต้องตรงกับปริมาณที่ทีมวิศวกร ได้คำนวณและกำหนดไว้ 

ในการผสม สตีลไฟเบอร์ลงในคอนกรีตนั้นสามารถใช้ถังผสม หรือผสมลงในโม่ผสมได้เลย โดยมีรอบการหมุนของโม่ไม่ต่ำกว่า 20 รอบต่อนาที โดยใช้เวลาผสมไม่น้อยกว่า 3-5 นาที

3. การเทคอนกรีตผสม สตีลไฟเบอร์ (Concreting)
ให้ทำการเทคอนกรีตที่ผสมสตีลไฟเบอร์ แล้วลงในพื้นที่หน้างาน แล้วให้ทำการเกลี่ยและเขย่าคอนกรีตให้แน่นตลอดทั้งบริเวณหน้างาน และทำการปรับพื้นให้ได้ระดับ สำหรับการปรับผิวคอนกรีตขั้นตอนสุดท้ายนั้น จะเริ่มปรับเมื่อไม่มีน้ำลอยขึ้นมาบนผิวคอนกรีต โดยการปรับแต่งผิวคอนกรีตให้ใช้เครื่องมือ เช่น เกรียงเหล็ก

การเทพื้นคอนกรีตด้วย สตีลไฟเบอร์ ต้องมีการทำร่องป้องกันการหดและขยายตัวโดยขนาดของ ร่องควรมีความกว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และมีความลึกประมาร 1/3 ของความหนาของแผ่นพื้น
และให้ทำร่องเมื่อแผ่นคอนกรีตเริ่มแข็งตัวไปแล้ว ประมาณ 12-24 ชั่วโมง 

 

การเตรียมหน้างานพื้นคอนกรีต

 

การผสมสตีลไฟเบอร์ ลงในโม่ได้เลย

 

 

หากเทแล้ว สตีลไฟเบอร์กระจุกตัวหรือกระจายตัวไม่ดี ให้เกลี่ยให้กระจายตัว เท่าๆกัน

แชร์ให้เพื่อน