การเลือกใช้งานปลอกคาน
คานเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่สําคัญอีกชิ้นส่วนหนึ่ง เนื่องจากคานเป็น โครงสร้างที่รองรับน้ําหนักของพื้นอาคารในชั้นนั้น แล้วถ่ายน้ําหนักลงสู่เสาที่รองรับต่อไป
ซึ่งตามหลักการออกแบบโครงสร้างต้านแผ่นดินไหว
ต้องควบคุมให้คานเกิดการวิบัติแบบ เหนียวก่อนที่เสาจะพัฒนากําลังถึงจุดวิบัติ หรือเป็นไปตามแนวคิดของ เสาแข็ง-คานอ่อน (Strong-Column-Weak-Beam)
หลักการวางปลอกคาน เพื่อเสริมแรงให้กับคาน
มีหลายๆท่านสงสัยเกี่ยวกับการเลือกใช้ปลอกคาน และการวางแนวปลอกคาน เพื่อให้มีความประหยัดและถูกต้องต่อการใช้งาน วันนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าการใช้งานปลอกคานนั้นเลือกอย่างไร และใช้งานอย่างไร
ขอบคุณภาพจาก http://www.thaiseismic.com/
ลักษณะการวางปลอกคานคือ วางปลอกในจุดที่ใกล้จุดเชื่อมต่อให้มีจำนวนมากกกว่า จุกกึ่งกลางของคาน ทั้งนี้เพราะ จุดเชื่อมต่อมีการรับแรงที่มากกว่านั่นเอง
การเลือกใช้งานปลอกคาน
การจัดวางเหล็กเสริม ต้องคำนึงถึงความประหยัด และต้องสอดคล้องกับการออกแบบของวิศวกร โดยทั่วไป วิศวกรนิยมกำหนดขนาดของเหล็กเสริมไม่เกินเส้นผ่านศูนย์กลาง 25มม ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 6 มม.,12 มม., 20มม. เป็นต้น เพราะมีราคาถูกกว่าเหล็กขนาด 28มม. หรือ 32มม.
ข้อแนะนำสำหรับการจัดเหล็กปลอกคานมีดังต่อไปนี้
1. จัดเหล็กให้สมมาตร (Symmetry) ได้แนวเท่ากัน
2. เมื่อเหล็กเสริมในแถวล่างเดียวกัน มีขนาดต่างกัน ให้เหล็กขนาดใหญ่จัดวางที่ตำแหน่งมุมนอก เหล็กขนาดใหญ่กว่าต้องอยู่ขอบนอก
3. เมื่อเหล็กเสริมสองแถวมีขนาดต่างกัน ให้จัดวางเหล็กเสริมขนาดใหญ่ไว้ที่แถวล่าง
4. สำหรับคานขนาดใหญ่ที่มีเหล็กเสริมหนาแน่นมากๆ เช่น คานช่วงยาว คานสะพาน ควรจัดเหล็กเป็นกลุ่ม และมีช่องว่างพอเพียงสำหรับการเทและจี้คอนกรีต ช่องว่างพอเพียงกับคอนกรีต ควรมีระยะประมาณ 3 นิ้ว
5. ความหนา ของคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (Covering) หมายถึงระยะที่วัดจากผิวคอนกรีตถึงผิวนอกสุดของเหล็กปลอก สำหรับคอนกรีตที่หล่อในที่ก่อสร้าง มีหลักพิจารณาดังนี้
+ 7.5ซม. สำหรับคอนกรีตที่หล่อติดกับดินและผิวคอนกรีตสัมผัสกับดินตลอดเวลา
+ 4ซม. สำหรับเหล็กเสริมเส้นผ่านศูนย์กลาง 16มม. และเล็กกว่า
+ 5ซม. สำหรับเหล็กเสริมเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 16 มม.
+ 3ซม. สำหรับคานที่ไม่สัมผัสกับดินหรือไม่ถูกแดดฝน
ทั้งนี้เพราะป้องกันการกัดกร่อนของน้ำและดิน
6. ระยะช่องว่างต่ำสุดของเหล็กเส้นที่วางขนานกันในแต่ละชั้น ต้องไม่แคบกว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ และต้องไม่น้อยกว่า 2.5ซม.
7. การเสริมเหล็กในคานต้องมีเหล็กตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป ระยะช่องว่างระหว่างชั้นของเหล็กเส้นต้องไม่แคบกว่า 2.5ซม.
8. เหล็กปลอกแรก ไม่ควรห่างจากผิวเสาเกิน 5 ซม.
9. ระยะต่อทาบเหล็กเสริม ต้องไม่น้อยกว่า 48 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นกลม และ 36 เท่า สำหรับเหล็กข้ออ้อย
10. ไม่ควรตัด และดัดเหล็กด้วยแก๊สหรือความร้อน เพราะจะทำให้เหล็กสูญเสียกำลังในการรับน้ำหนัก
ข้อพิจารณาในการเทคอนกรีตคาน
1. ก่อนเทคอนกรีต ควรตรวจสอบความเรียบร้อยของแบบคาน ความสะอาด รอยต่อแบบค้ำยัน ไม้ตู้ ไม้แบบ ไม้รัดปากแบบ ท้อนคาน การทำระดับหลังคาน
2. ก่อนเทคอนกรีต ควรใช้เครื่องปั๊มลมเป่าไล่เศษฝุ่น และราดน้ำแบบหล่อให้ชุ่ม
3. สำหรับคานที่มีขนาดลึก ควรเทคอนกรีตเป็นชั้น ชั้นละไม่เกิน 30 ซม. และจี้คอนกรีตให้แน่นในแต่ละชั้น
4. ควรหยุดเทคอนกรีตในแนวตั้งฉากกับคาน ณ ตำแหน่งที่แรงเฉือนเกิดขึ้นน้อยที่สุด โดยทั่วไป อยู่ประมาณกลางคาน เพื่อให้รอยต่อเรียบร้อย ใช้ลวดตาข่ายคั่นรอยต่อหากจำเป็นอาจใช้ไม้เคร่า คั่นระหว่างเหล็กเสริม
5. ก่อนเทคอนกรีตกต่อกับคอนกรีตใหม่ ควรทำความสะอาดรอยต่อ แล้วราดด้วยน้ำปูนข้นหน้ารอยต่อให้ทั่วก่อน จึงเทคอนกรีตใหม่