ตะแกรงเหล็ก หรือวายเมช (Wire Mesh) หรือไวร์เมช
มีทั้งแบบแผ่น และแบบม้วน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เอนกประสงค์กับงานต่างๆ
1. ใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อรับแรง หรือรับน้ำหนัก คอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ใช้ปูยึดกันคอนกรีตแตกด้านบนพื้นคอนกรีต,งานเทลาน-ถนนคอนกรีต งานบุด้านในผิวผนังคอนกรีต หรือผนังโถงลิฟ, ด้านใน
ผนังชิ้นงานคอนกรีตในงานPre-Castทั้งนี้เป็นการใช้ทดแทนเหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย ซึ่งจากการที่เป็นเหล็กรีดเย็นทำให้มีค่าTenSileสูงกว่าเหล็กเส้นก่อสร้างทั่วไปที่รีดร้อน จึงทำให้ช่วยลดปริมาณน้ำหนักเหล็ก,ช่วยประหยัดเวลาในการผูกเหล็ก, ประหยัดเวลาเนื่องจากผลิตมาจากโรงงานสำเร็จ,ลดการสูญเสียปริมาณเหล็ก และสะดวก รวดเร็ว มีมาตรฐาน
2. ใช้กับงานหลังคา เรียกว่า Galvanize Wiremesh เป็นไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่เอาไว้รองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนบนหลังคา ใช้งานง่ายและรวดเร็ว
เหตุผลดีๆ ของการใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช
– ได้มาตรฐาน เนื่องจากใช้เครื่องอาร์คไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ในการผลิตทำให้จุดเชื่อมทุกจุด มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ
เป็นตะแกรงเหล็กที่มีกำลังครากสูงกว่าเหล็กเส้นทั่วไปสองเท่าตัว จึงทำให้ประหยัดวัสดุประกอบ กับตะแกรงเหล็กสามารถผลิตได้ ตามขนาดต้องการ จึงทำให้ไม่เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอน เวลา ภาระและลดความสูญเสีย
– รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขนย้าย หรือการนำไปใช้ง่าย และสามารถเช็คจำนวนได้อย่างแน่นอน จะมีความรวดเร็วกว่าการใช้เหล็กเส้นมาผูก ทำให้ประหยัดเวลาทำงาน เป็นตะแกรงเหล็กที่ลดขั้นตอนในการทำงานได้ถึง 50% เนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ตัดและดัด ทำให้ลดเวลาในการผูกเหล็กลงได้ถึง 70-90%
– ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เนื่องจากตะแกรงเหล็กสามารถสั่งทอเป็นผืนได้ตามต้องการทำให้ลดการสูญเสียเศษเหล็ก ลดจำนวนแรงงานและค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย
– ใช้ได้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานโครงการใหญ่หรืองานเทพื้น/ซ่อมแซมรอบๆ ตัวบ้านขนาดใด ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ
– แน่นอน เป็นตะแกรงเหล็กที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ทุกระยะจุดเชื่อมไม่คลาดเคลื่อนได้มาตรฐานสม่ำเสมอตลอดผืน และมึความมั่นคง แข็งแรงไม่บิดงอ ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดี ซึ่งเป็นผลให้โครงสร้างมีความแข็งแรงสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน
กระบวนการผลิตตะแกรงเหล็กไวร์เมช
โดยการนำลวดเหล็ก (Steel Wire) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากการรีดร้อนเหล็กแท่ง (Billets) จนได้เหล็กรูปทรงยาวหรือลวดเหล็ก (Wire Rod) มีขนาดลวดตั้งแต่ 4 มม. /6 มม. แล้วนำมาผ่านกระบวนการดึงเย็นเพื่อลดขนาดเพื่อเป็นลวดเหล็กกล้าที่มีผิวเรียบขึ้น จากนั้น นำไปทอเป็นตะแกรงเหล็กตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งระยะห่างของตะแกรงมีขนาดตั้งแต่ 15*15 ซม. / 20*20 ซม. หรือขนาดตามต้องการ
วิดีโอแสดงขั้นตอนการผลิตไวร์เมช
ขอขอบคุณข้อมูล รู้จักกับไวร์เมช
https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เหล็กไวร์เมชคืออะไรและ/
https://www.tpkrungrueangkit.com/สินค้าของเรา/wire-mesh/