จำหน่ายฟุตติ้งสำเร็จรูป ฟุตติ้งสำเร็จรูปราคาโรงงาน
ทำไมต้องทำฟุตติ้ง(footing) กับเสาเข็มไมโครไพล์?
footing หรือฟุ้ตติ้ง หรือฐานรากฟุ้ตติ้งที่ช่างหรือผู้รับเหมาเรียกกันบ่อยๆและคิดค่าทำแพงๆคืออะไร ทำอย่างไร ทำไมต้องทำฟุตติ้ง?
ประโยชน์ของ footing
1.เสาเข็มไมโครไพล์เป็นเสาเข็มที่หล่อด้วยคอนกรีตกำลังอัดสูง(high strength concrete)ตั้งแต่ 350-500 ksc.ซึ่งมีความแข็งกว่าคอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างทั่วไปซึ่งมีกำลังอัดเพียง 180-240 ksc. ซึ่งการที่เสาเข็มหน้าตัดเล็กๆรับแรงได้15-30ตัน มากกว่าคอนกรีตทัวไป นั่นหมายความว่าเมื่อมีน้ำหนักจากพื้น กดลงมาที่เข็มมากๆอาจทำให้เกิดการเสาเข็มทะลุพื้น หรือเกิดรอยร้าวบริเวณพื้นรอบๆหัวเสาเข็มได้ จึงต้องมีการหล่อฐานราก(footing)
2.เมื่อตอกเสาเข็มไมโครไพล์ด้วยพื้นที่หน้างานจำกัด และ มีอุปสรรคอื่นๆ ร่วมด้วยเช่นหลบถึงบำบัด หลบท่อระบายน้ำ จึงเป็นเหตุให้การตอกมีการขยับหนีศูนย์จากจุดที่ออกแบบไว้ จะต้องทำการขยายหัวเสาเข็ม โดยการทำฐานราก(footing)หรือฟุตติ้งนั่นเอง
3.การเทพื้นทับหัวเสาเข็มไมโครไพล์เลย เหมือนกับการเทพื้นทับเสาเข็มหกเหลี่ยมเป็นการทำงานที่ไม่ถูกต้อง เพราะเสาเข็มไมโครไพล์ไม่มีการทรุดตัวเมื่อพื้นรับน้ำหนักมากๆพื้นจะแอ่นตัวลงแต่หัวเสาเข็มยังอยู่ที่เดิมไม่ทรุดตามพื้นอาจทำให้หัวเสาเข็มทะลุพื้นขึ้นมา การจะทำไม่ให้พื้นแอ่นตัวหรือหัวเสาเข็มทะลุขึ้นมาเวลารับน้ำหนัก จะต้องเทพื้นหนา 15-30 ซม.และเสริมเหล็กพื้น2ชั้น ซึ่งเป็นการเพิ่มนำ้หนักโครงสร้างและสิ้นเปลืองมาก จึงนิยมทำระบบคานรับพื้น และถ่ายน้ำหนักลงมายังฐานราก (footing)
ฟุตติ้งสำเร็จรูป https://www.thaimetallic.com/2020/04/19/ฟุตติ้งสำเร็จรูป/
ฐานรากหรือฟุตติ้ง(footing) คืออะไร?
ฐานราก เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดโครงสร้างบ้านที่แข็งแรงทั้งหลัง ดังนั้นความสำคัญของงานฐานรากจึงมีอยู่มากมาย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับฐานรากบ้านกันครับ
สำหรับคนที่คิดจะปลูกสร้างบ้าน และได้ยินคำว่า “งานฐานราก” แว่ว ๆ มาจากวิศวกรหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง หากเกิดความสงสัยว่าหมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับตัวบ้านที่กำลังจะปลูกสร้าง วันนี้กระปุกดอทคอมได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฐานรากของบ้าน มาฝากให้ได้คลายสงสัยกันครับ
ฐานราก
ฐานราก คืออะไร?
ฐานราก คือฐานเริ่มของการก่อสร้างบ้าน เพื่อใช้เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของตัวบ้านทั้งหลังเอาไว้ โดยฐานรากจะถูกฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเราสามารถแบ่งฐานรากออกเป็นประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้
1. ฐานรากเสาเข็ม การวางฐานรากของบ้านด้วยการตอกเสาเข็มลงลึกไปในชั้นดิน นิยมใช้กับดินเนื้ออ่อน ๆ ซึ่งไม่สามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านได้ จุดเด่นของฐานรากแบบเสาเข็ม จะเป็นฐานรากแบบลึก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือเสาเข็มคอนกรีต หรือเสาเข็มไม้สำหรับบ้านไม้
2. ฐานรากแบบแผ่ จะเป็นการวางฐานรากแบบตื้น นิยมใช้กับดินเนื้อแข็งที่มีความหนาแน่นพอจะรองรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้านได้ ทำให้ไม่ต้องใช้เสาเข็มช่วยในการรับน้ำหนัก โดยจะมีความลึกเพียง 2-3 เมตรเท่านั้น แต่ต้องมั่นใจว่าชั้นดินมีความแน่นอย่างเหมาะสม ไม่อย่างนั้นจะเกิดอาการทรุดตัวได้
3. ฐานรากแบบตอม่อ จะเป็นการทำฐานคอนกรีตแบบตอม่อหล่อลึกลงไปในดินหรือน้ำ โดยจะมีความแข็งแรงค่อนข้างมาก แต่ไม่นิยมใช้กันในการสร้างบ้านพักอาศัย
การเลือกฐานราก
ในการเลือกฐานรากว่าแบบไหนเหมาะกับโครงสร้างบ้าน ให้ดูจากคุณภาพของชั้นดินเป็นหลัก โดยฐานรากแบบแผ่จะเหมาะกับดินแน่น ๆ ที่มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดอาการทรุดตัวเท่านั้น ส่วนดินเนื้ออ่อนจำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อช่วยรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้าน โดยจะต้องตอกเสาเข็มลงไปให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง และต้องใช้ความชำนาญเป็นสำคัญ
ส่วนจำนวนเสาเข็มที่ต้องใช้ในการทำฐานรากของแต่ละบ้าน ก็ต้องให้วิศวกรเป็นผู้คิดคำนวณให้ตามหลักการ เพื่อความปลอดภัย และไม่เกิดอันตรายจากบ้านทรุดหรือถล่มในภายหลัง
ขนาดของฐานราก
ในส่วนของเสาเข็มจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างวิศวกรเป็นผู้คำนวณความเหมาะสมว่าต้องใช้กี่ต้นสำหรับบ้านแต่ละหลัง แต่สำหรับขนาดของฐานรากแบบแผ่ จะแตกต่างกันไปตามพื้นผิวของดินแต่ละภูมิภาค ดังนี้
– กรุงเทพฯ หรือพื้นที่ดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ 2 ตันต่อตารางเมตร
– ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคอีสาน 8 ตันต่อตารางเมตร
– ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
– โซนใกล้ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
ค่าฐานรากในการสร้างบ้าน
ขึ้นอยู่กับโครงสร้างบ้าน และการประเมินราคาของผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยควรสอบถามรายละเอียดและให้มีการแจกแจงรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นหากอยากทราบว่าราคาที่ประเมินมาเหมาะสมหรือไม่ ให้ลองปรึกษาวิศวกรหรือสถาปนิกผู้ออกแบบ
ได้รู้จักกับข้อมูลคร่าว ๆ ของงานฐานรากกันไปแล้ว หากคิดจะสร้างบ้านก็อย่าลืมใส่ใจและสังเกตจุดสำคัญที่สุดของบ้านจุดนี้กันให้ดีด้วยนะครับ เพราะหมายถึงความปลอดภัยของสมาชิกในบ้านจากการทรุดตัวหรือถล่มของบ้านด้วย