mfg

ความแตกต่างระหว่าง สีน้ำกับสีน้ำมันสำหรับอาคาร


แชร์ให้เพื่อน

ความแตกต่างระหว่าง สีน้ำกับสีน้ำมันสำหรับอาคาร

ความจริงท่านอาจจะตอบได้ หรือเลือกได้ว่าจะใช้สีน้ำที่ไหน และสีน้ำมันที่ไหน และคำตอบของท่านก็คงจะตรงกับข้อมูลที่ว่าสีน้ำใช้กับผิวปูนและคอนกรีต ในขณะที่สีน้ำมันใช้กับผิวไม้และโลหะ ดังนั้นผิวปูน ผิวคอนกรีต

รวมทั้งผิวใดๆ ที่ไม่ใช่ไม้และโลหะ เช่น ผิวกระดาษของแผ่นยิบซั่มก็เหมาะที่จะใช้สีน้ำ สำหรับผิวไม้และโลหะ ที่หมายถึง เหล็ก อะลูมิเนียม หรือโลหะใดที่ปรากฎอยู่เป็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่จำต้องทาสีทับแล้ว สีน้ำมันก็จะเป็นสีที่เหมาะที่สุด

คำว่า สีน้ำ จริงๆ แล้วคำที่ถูกต้องคือ สีพลาสติก เพราะองค์ประกอบ

สำคัญก็คือพลาสติก หรือที่เรียกตามภาษาวิทยาศาสตร์ก็คือ โพลีไวนีลอะซีเตท เหตุที่เราเรียกสีน้ำก็เพราะว่าสีชนิดนี้ใช้ น้ำ เป็นตัวผสมทำให้เจือจาง เช่นเดียวกับสามารถชำระล้างออกด้วยน้ำเช่นกัน ส่วนสีน้ำมันนั้นก็บอกตัวมันเองอยู่แล้ว

เนื้อหาในตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่การเปรียบเทียบเพื่อความกระจ่างระหว่างสีทั้งสอง เนื่องจากมีข้อกำหนดในการใช้สีแต่ละชนิดค่อนข้างจะชัดเจน แต่สิ่งที่ทำให้สับสนหรือขาดความกระจ่างก็คือทั้งสีน้ำและสีน้ำมันนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เพื่อความเหมาะสม ต่อการใช้งาน ผิวพื้นอย่างไร สภาพอย่างไร หรือลักษณะการใช้งานอย่างไร ควรจะใช้สีน้ำมันหรือสีน้ำมันชนิดใด จึงเป็นสิ่งที่ท่านควรทราบอย่างมาก

ก่อนอื่นอยากให้ท่านได้รู้จักกับสีเสียก่อนว่า สีที่ใช้ทาวัตถุต่างๆนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อประดับความรู้ ดังนี้

1. ผงสี (PIGMENT) เป็นองค์ประกอบสำคัญตามธรรมชาติของเนื้อสี ซึ่งจะเป็นอณูเล็กๆ ให้สีสันนั้นๆ เป็นตัวหรือเนื้อสีนั่นเอง

2. ตัวทำให้เกิดชั้นของเนื้อสี (BINDER) บางทีเราเรียกว่า ตัวทำให้เกิดฟิล์มเคลือบเนื้อสี เมื่อเราทาลงบนพื้นผิวใดๆ แล้ว และเช่นเดียวกัน มันก็ยังเป็นตัวยึดผงสีให้อยู่ด้วยกัน สารตัวนี้เราเรียกว่า RESIN (คำว่า BINDER นั้นหมายถึงหน้าที่หรือคุณสมบัติของเจ้า RESIN นั่นเอง) สารดังกล่าวก็ได้แก่อะครีลิก (ACRYLIC)และ โพลียูรีเทน (POLYURETHANE) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเงางาม ความแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพแวดล้อม

3. ตัวทำละลาย (SOLVENT) สารตัวนี้เป็นตัวผสมองค์ประกอบที่ 1 และ 2 ให้ได้ความข้นเหลวของสีชนิดนั้นๆ ตามต้องการ เพื่อสะดวกต่อการทาหรือพ่น หลังจากนั้นก็จะระเหยไป ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนว่า สำหรับสีน้ำหรือสีพลาสติกนั้น น้ำ ก็คือตัวทำละลายและสีน้ำมันก็มีทินเนอร์เป็นตัวทำละลายนั่นเอง

4. สารเติมพิเศษ (ADDITIVES) เป็นสารที่เติมเข้าไปในเนื้อสีให้มีคุณสมบัติต่างๆเพิ่มเติม เช่น ทำให้แห้งเร็ว ทาแล้วเรียบปราศจากรอยแปรงหรือสามารถกันชื้นกันเชื้อราได้

และรายละเอียดที่จะเสนอต่อท่านผู้อ่านถึงการเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับสภาพของผิวพื้นที่จะทา กับสภาพความจำเป็นหรือความต้องการ โดยจะแสดงเป็นตารางเพื่อง่ายต่อการพิจารณาเช่นเคย ดังนี้

 

สีน้าอคริลิก สำหรับทาอาคาร
สีน้าอคริลิก สำหรับทาอาคาร

สีพลาสติกหรือสีอคริลิก (สีน้ำ)

สภาพพื้นผิว,ความต้องการ ชนิดของเนื้อสี หมายเหตุ
พื้นผิวปกติต้องการทาสีทับเป็นครั้งแรก สีรองพื้นมีส่วนผสมอะครีลิก(สีขาว)
พื้นผิวเป็นฝุ่นมีสภาพผุกร่อนของผิวปูนต้องการทาสีทับ สีรองพื้นแบบเคลือบปูน(สีใส) เพื่อให้ฝุ่นปูนยึดเกาะกันเป็นแผ่น
ทาสีทั่วๆไปทั้งภายในภายนอกเพื่อความสวยงาม สีอีมัลชั่น(EMULSION PAINT)ทำจากโพลีไวนีลอะซีเตทกับอะครีลิก คือสีพลาสติกธรรมดานั่นเอง บางยี่ห้อทนต่อเชื้อราและปราศจากสารปรอท
ทาสีตกแต่งเฉพาะภายใน สีอีมัลชันประเภทเนื้ออะครีลิก ทนต่อฤทธิ์ด่าง เชื้อรา ทาได้โดยไม่ต้องทาสีรองพื้นในสภาวะปกติ ปราศจากสารปรอท
ทาสีภายนอกอาคารทั่วไปสำหรับผิวพื้นปูน หินล้าง ทรายล้าง อิฐก่อ สีที่มีเทอร์โมพลาสติกและอะครีลิกเป็นองค์ประกอบ ให้ความคงทน ไม่ซีดขาว ทนต่อฤทธิ์ด่าง ไม่มีสารตะกั่ว ทนเชื้อรา และทนต่อสภาพภูมิอากาศ ผิวพื้นเมื่อทาเสร็จจะเรียบเนียน
ทาสีผนังปูน,คอนกรีตที่ต้องการความทนทานพิเศษ สีชนิดคลอริเนทเต็ดรับเบอร์ เหมาะกับอาคารที่ต้องการความทนทานของสีมีโอกาสทาสีซ้ำบ่อยๆได้ยาก เช่น อาคารสูงต้องการอายุการใช้งานยาว

 

สีน้ำมันสำหรับงานโลหะและงานไม้
สีน้ำมันสำหรับงานโลหะและงานไม้

สีน้ำมัน

สภาพพื้นผิว,ความต้องการ ชนิดของเนื้อสี หมายเหตุ
พื้นผิวปกติหรือเคยทาสีมาแล้วต้องการทาสีทับ สีรองพื้นไม้และอะลูมิเนียม(เป็นสีอะลูมิเนียม) ป้องกันเชื้อราได้ บางยี่ห้อแยกเป็นสีรองพื้นเหล็กหรือไม้
ทาสีทั่วไปทั้งภายในและภายนอก สีน้ำมันทั่วไป บางชนิดทำเป็นสีเคลือบเงา ทนเชื้อรา
ต้องการทาสีให้สวยเนียน สีรองพื้นชั้นที่สอง ทำมาจากเรซินสังเคราะห์(เป็นสีขาว) ทนทาน ทนความร้อน
ทาสีบนโลหะ สีรองพื้นกันสนิมมีผงเหล็ก(RED OXIDEและZINC CHROMATE(เป็นสีแดงอมน้ำตาล) มักเรียกกันว่าสีกันสนิม
ทากันสนิมอย่างดี สีอีพ็อกซี่ มีส่วนผสมของอีพ็อกซี่ เรซินและตะกั่วแดง(เป็นสีแดงส้ม) เหมาะกับโครงเหล็กที่ต้องการความทนทานพิเศษเช่น สะพาน ท้องเรือ
ทากันสนิมสำหรับโลหะต่างๆ โครงสร้างเหล็ก สีกันสนิมที่มีผงสีซิ้งค์โครเมท(ZINC CHROMATE)ผสม ใช้ได้กับเหล็ก สังกะสี อะลูมิเนียม
ป้องกันสารเคมี,การขัดถู ขีดข่วน สีอีพ็อกซี่ มีทั้งชนิดใช้ภายนอกและภายใน ใช้ทาเคลือบทับหน้ามีทั้งใช้ทาไม้ โลหะ หรือผิวปูน
ทาเคลือบท้องเรือ ถังเหล็กป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี สีอีพ็อกซี่สำหรับทา “แท็งก์
ทาเคลือบให้เป็นสีอะลูมิเนียม สีอะลูมิเนียม ทาได้ทั้งไม้ โลหะ ใช้สีรองพื้นกันสนิมทาก่อนมีทั้งแบบทนความร้อนสูง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

http://www.bestroomstyle.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99/

แชร์ให้เพื่อน