mfg

ความแตกต่างของเหล็กแผ่นรีดร้อนกับเหล็กแผ่นรีดเย็น


แชร์ให้เพื่อน

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทราบความแตกต่างของเหล็กแผ่นแบบรีดร้อนกับเหล็กผ่นรีดเย็นกันดีกว่าครับ จากปกติผมคิดว่า เหล็กมีเฉพาะเหล็กรีดร้อนอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วเหล็กรีดแบบเย็นก็มีครับ 

ความแตกต่างของเหล็กแผ่นรีดร้อนกับเหล็กแผ่นรีดเย็นมีดังนี้

เหล็กแผ่นรีดร้อน 
ผลิตโดยกระบวนการรีดร้อนที่อุณหภูมิสูง มีความหนาตั้งแต่ 0.9 มม. ขึ้นไป มีผิวสีเทาดำเนื่องจากออกไซด์ของเหล็กที่เกิดขึ้นที่อุณหภูมิสูง เหล็กแผ่นรีดร้อนอยู่ในรูปม้วนหรือแผ่น 

การนำเหล็กแผ่นรีดร้อนไปใช้งาน
สามารถนำไปใช้งานทั่วไปที่ไม่ต้องการคุณภาพผิวสูงนัก เช่น

* พับเป็นเหล็กสำหรับงานโครงสร้าง เช่นเหล็กรูปตัวซี (C-Channel)
* ม้วนทำท่อขนาดเล็ก (Pipe and tube)
* ม้วนทำท่อขนาดใหญ่ (Spiral pipe)
* ทำถังแก๊สหุงต้ม
* ทำตู้คอนเทนเนอร์
* ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเรือ
* ใช้ขึ้นรูปชิ้นส่วนช่วงล่างของรถยนต์ที่ต้องการความแข็งแรง
* ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น


เหล็กแผ่นรีดเย็น
เหล็กแผ่นรีดเย็น

เหล็กแผ่นรีดเย็น 
ผลิตโดยกระบวนการรีดเย็น ใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนเป็นวัตถุดิบ แล้วนำมารีดลดขนาดความหนาที่อุณหภูมิปกติ โดยทั่วไปจะมีความหนาตั้งแต่ 0.14 มม. ถึง 3 มม. มีผิวสวย มันวาว 

การนำเหล็กแผ่นรีดเย็นไปใช้งาน
ใช้ในงานลักษณะที่ต้องการคุณภาพผิวสูงกว่าและความหนาต่ำกว่าเหล็กแผ่นรีดร้อน เช่น

* งานด้านยานยนต์
* เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์
* ทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
* เป็นโลหะพื้นสำหรับผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ เช่น เคลือบสังกะสีเพื่องานทำหลังคา เคลือบดีบุกโดยนำม้วนเหล็กแผ่นรีดร้อนไปรีดเย็นต่อ จะได้เหล็กแผ่นที่มีผิวมันกว่า แต่ยังเหลือความเครียดในเนื้อเหล็กอยู่ทำให้มีความแข็งสูง ความสามารถในการยืดตัว (Elongation) ต่ำและยังมีความไม่สม่ำเสมอของคุณสมบัติเชิงกลในทิศทางต่างๆสูง จึงไม่เหมาะแก่การใช้งานขึ้นรูป ต้องเข้าสู่กระบวนการอบอ่อน (Annealing) เพื่อให้คลายความเครียดในเนื้อเหล็กลง โดยความหนาแทบไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงความเรียบของคุณภาพผิว และขจัดการยืดตัว ณ จุดคราก (Yield point elongation) ทำให้สามารถนำไปใช้ขึ้นรูปได้ดีและสม่ำเสมอมากขึ้น

โดยทั้งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนและผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเย็น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชั้นคุณภาพ (Grade) และประเภทการนำไปใช้งาน เพราะฉะนั้นหากต้องการซื้อเหล็กแผ่นมาใช้งาน ต้องปรึกษาช่างที่เชี่ยวชาญ ช่างจะรู้ว่าต้องใช้เหล็กประเภทไหน

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.ssi-steel.com/index.php/homepage/258-english-categories/service-center/faqs/429-q4

แชร์ให้เพื่อน