mfg

การใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile


แชร์ให้เพื่อน

ผลิตและจำหน่าย แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile

แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile

 

การใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile

สวัสดีครับ วันนี้เราพามาดูการใช้งาน แผ่นใยสังเคราะห์Geotextile ในงานก่อสร้างและปรับภูมิทัศน์กันครับ ​สำหรับงานวิศวกรรมโยธา สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งต้องขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.engrdept.com/pdf/56.pdf

ในฉบับนี้ กระผมขอแนะนําการใช้ Geotextile สําหรับงานดิน ซึ่งหน่วยทหารช่าง หลายหน่วยได้นํามาใช้ในงานก่อสร้าง ประสพผลสําเร็จทําให้ทํางานได้ง่ายขึ้น และประหยัด งบประมาณอีกด้วย

มาดูกันก่อนครับ ว่า Geotextile หรือแผ่นใยสังเคราะห์ คืออะไร
Geotextile คือ แผ่นใยสังเคราะห์ที่น้ําสามารถซึมผ่านได้ ซึ่งใช้ในงานดิน มีขีดความสามารถในการแยกส่วนดิน กรอง เสริมความ แข็งแรง ป้องกันผิวดิน หรือช่วยระบายน้ํา โดยทั่วไป Geotextile ทํามาจากโพลิโพรไพลิน (Polypropylene) หรือ โพลีเอสเตอร์ (Polyester) Geotextile จะถูกผลิตใน 3 รูปแบบ
คือ

การทอ (มีลักษณะคล้ายกระสอบ)
การถลุงด้วยเข็ม (มีลักษณะคล้ายผ้าสักหลาด)
และการใช้ความร้อน ประสาน (มีลักษณะคล้ายผ้าสักหลาดรีดเรียบ)

การผลิต แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile

 

เมื่อมีการนํา Geotextile มาใช้กันอย่าง แพร่หลาย Geotextile ได้ถูกดัดแปลงเป็น แผ่นเจาะรู (Geogrid) และ แผ่นตะแกรง (Mesh) ซึ่งเรียกว่า แผ่นใยสังเคราะห์สําหรับงานดิน (Geosynthetic) มีหลายชนิดที่ผลิตขึ้นเพื่อให้
คุณสมบัติที่เหมาะสมสําหรับงานดินและงาน สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้ Geotextile ได้ถูกนํามาใช้ อย่างกว้างขวางในงานถนน สนามบิน ทางรถไฟ เขื่อนดิน กําแพงกันดิน อ่างเก็บน้ํา คลอง การถมดิน ชายฝั่งทะเล โดยทั่วไปแล้ว Geotextile จะเสริมผิวหน้าดินให้มีขีดความสามารถ ในการรับแรงดึงได้มากขึ้น ซึ่งจะทําให้ดินมี ความแข็งแรงมากขึ้น

ในการป้องกันลาดดิน เดิมทีนั้น การเสริมความแข็งแรงของดินมักจะใช้วิธี Soil nailing ตามที่ได้นําเสนอในฉบับที่แล้ว Geotextile เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกนํามาใช้แทน ซึ่งมีราคาถูกกว่า และในขณะเดียวกัน ผิวหน้าดิน สามารถปลูกพืช เพื่อเพิ่มความสวยงามได้ แทนที่จะเห็นเป็นคอนกรีต
ในการทําถนนและลานจอดรถ หากดินเดิมเป็นชั้นดินเหนียว เราอาจใช้ Geotextile เพื่อแยกชั้นดินทําให้ดินคงตัว และเสริมความแข็งแรงของชั้นดินได้ ทําให้ลดงบประมาณ และเพิ่มอายุการใช้งานได้ Geotextile จะใช้ระหว่างชั้นหินคลุกกับชั้น ลูกรัง เพื่อยืดอายุการใช้งาน และในระหว่าง ชั้นลูกรัง อาจจะใช้ Geotextile เพื่อเสริมความ แข็งแรง ทําให้ชั้นลูกรังบางลงได้

การใช้ Geotextile ของหน่วยทหารช่าง ในที่นี้จะยกตัวอย่างโครงการก่อสร้างถนน เลียบทางรถไฟพัทยา เมืองพัทยา จังหวัด ชลบุรี ดําเนินการโดยกรมการทหารช่าง (กองพลทหารช่าง) มี พ.อ.อนุสรณ์ ปัญญะบูรณ์ เสนาธิการกองพลทหารช่าง เป็นผู้บังคับ หน่วยงาน ลักษณะงานก่อสร้างเป็นถนน เลียบทางรถไฟพัทยา เลียบถนนสุขุมวิท
คู่ขนานทางรถไฟ เพื่อบรรเทาการติดขัดของ การจราจร

ในงานก่อสร้าง ได้มีการถมดินสูง แต่เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติงานจํากัด ไม่สามารถปล่อยลาดได้มากทําให้เกิดความลาดชัน หน่วยงานโดย พ.อ.อนุสรณ์ ปัญญะบูรณ์ ได้นํา Geotextile มาใช้เสริมการถมดินทําให้ถมดิน ปล่อยลาดได้ชันมาก

การใช้งาน แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile

 

การใช้งาน แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile

 

ขั้นตอนการดําเนินการ ทําโดยปูแผ่น Geotextile แล้วบดอัดดินเป็นชั้นจนได้ความหนา ประมาณ ๒๐ เซนติเมตร จึงพับชายแผ่น Geotextile ปิดหน้าดิน จากนั้นปูแผ่น Geotextile แล้วบดอัดดิน ทําไปเรื่อยๆ จนได้ความสูงของ ดินถมที่ต้องการ แบบที่ใช้สําหรับการบดอัดดิน ใช้หัวเสาเข็มที่เหลือจากการตอกเข็มมาวางเป็นแบบ
เนื่องจาก Geotextile ไม่ทนต่อรังสี อุลตร้าไวโอเล็ต (UV) จึงต้องมีการปลูกหญ้า เพื่อป้องกันแสงแดด หากไม่มีการปลูกหญ้า Geotextile จะมีอายุประมาณ 5 ปี แต่ถ้า ป้องกันแสงแดดดี จะมีอายุการใช้งานนานมาก

โครงการก่อสร้างโดยหน่วยทหารช่าง ที่มีการใช้ Geotextile ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ กรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน), โครงการก่อสร้างสโมสรทหารบก, โครงการก่อสร้างเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี, โครงการซ่อมปรับปรุงแผนกที่ ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ซึ่งการใช้ให้ผลดีในด้านการประหยัด งบประมาณ ความรวดเร็ว และลักษณะ วิศวกรรมที่พึงประสงค์ คาดว่าในอนาคต หน่วยทหารช่างคงนํามาใช้อย่างกว้างขวาง สําหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ก็มี การนํามาใช้อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน เช่น ในภาพข้างล่าง คือ การนํา Geotextile มาทําเป็น กําแพงกันดิน เสริมดินถม ซึ่งเป็นโครงการ ขยายสนามบินขอนแก่น เมื่อทําเสร็จแล้ว ได้ก่อกําแพงกันแสงแดด เพื่อไม่ให้ Geotextile ย่อยสลายจากรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต
สําหรับฉบับนี้ ผมขอจบไว้เพียงเท่านี้ หากท่านสนใจการใช้ แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ ขอบคุณครับ


Geotextile ใช้ทำอะไรได้บ้าง

Geotextile มักถูกใช้ในงานด้านโยธา สิ่งแวดล้อม และการเกษตร ตัวอย่างเช่น

ด้านโยธาและสิ่งแวดล้อม

  • ใช้แยกชั้นหรือเสริมความแข็งแรงของดินในงานก่อสร้างถนน
  • ใช้แยกชั้นหรือเสริมความแข็งแรงของวัสดุอื่นในงานทำรางรถไฟ
  • ใช้แยกชั้นหรือเสริมความแข็งแรงของดินในงานสร้างเขื่อน
  • ใช้เสริมความแข็งแรงให้กับกำแพง สันหาด และพื้นที่ลาดชัน
  • ใช้ในระบบระบายน้ำใต้ดิน หรือระบบระบายน้ำอื่นๆ
  • ใช้ป้องกันการกร่อนของหน้าดินหรือพื้นผิวอื่นๆ

 

ด้านการเกษตร

  • ใช้คลุมดินเพื่อป้องกันการเติบโตของวัชพืช
  • ใช้เพื่อสร้างร่มเงา ป้องกันลม หรือป้องกันแมลง ให้กับเรือนกระจกหรือพื้นที่เพาะปลูกอื่น
  • ใช้ป้องกันพืชผลบางชนิดจากนก แมลง และสภาวะอากาศต่างๆ

แชร์ให้เพื่อน