mfg

ธนาคารน้ำใต้ดิน


แชร์ให้เพื่อน

ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)

สวัสดีครับ คิดว่าหลายๆท่านที่เป็นเกษตรกร คงเคยได้ยินคำว่า “ธนาคารน้ำใต้ดิน ” วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับธนาคารน้ำใต้ดินกันมากขึ้น รวมทั้งวิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดิน และข้อดี ข้อเสีย ของธนาคารน้ำใต้ดินกันครับ

ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร

ธนาคารน้ำใต้ดิน คือ วิธีการเก็บน้ำลงสู่ชั้นดินที่อุ้มน้ำ ซึ่งจะเก็บน้ำในหน้าฝนที่ปริมาณน้ำฝนเยอะเพื่อเอามาใช้ในหน้าแล้ง ซึ่งใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน โดยขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร อีกวิธีคือ การใช้เศษไม้ ขวดแก้ว เศษอิฐ กรวด หิน หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาถมในบ่อเพื่อแทนที่น้ำ ซึ่งเป็นวิธีการเติมน้ำลงสู่ชั้นดิน

ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank) เป็นการบริหารจัดการน้ำใต้ดินแบบครบวงจรที่มีความยั่งยืน โดยการนำน้ำเข้าไปกักเก็บไว้ที่ชั้นใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำในช่วงหน้าฝน และนำออกมาใช้เมื่อยามต้องการ เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำหลาก การรุกล้ำของน้ำเค็ม น้ำกร่อย เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเสียสมดุลของน้ำใต้ดินได้อีกด้วย

 

ธนาคารน้ำใต้ดินแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิด

ธนาคารน้ําใต้ดินระบบเปิด (บ่อชะลอน้ํา/บ่อรับน้ํา/บ่อตกตะกอน/บ่อลม) เป็นบ่อสําหรับการจัดการปัญหาน้ําบาดาลที่แห้งและขาดแคลน เพื่อเติมน้ําลงใต้ดินและเพิ่มปริมาณน้ําใต้ดินให้เพียงพอต่อการ อุปโภคบริโภค และใช้ทําการเกษตรในฤดูแล้ง โดยการก่อสร้าง/ขุดบ่อเป็นกลุ่มๆ ละ 2 – 3 บ่อ แต่ละบ่อห่างกัน ประมาณ 1,000 – 1,500 เมตร ความลึกของบ่ออย่างน้อย 7 เมตร หรือขนาดบ่อตามความเหมาะสมของพื้นที่ชั้นดิน และพื้นที่โพรงน้ําใต้ดิน ทั้งนี้เพื่อการเก็บน้ำไว้ใช้

ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิด

ธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิด ใช้พื้นที่มากกว่า สามารถแก้ปัญหาได้ในวงกว้าง โดยการขุดเจาะหน้าดินให้มีความลึกทะลุผ่านชั้นดินเหนียวและลึกลงไปถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ขนาดความกว้างยาวของบ่อขึ้นอยู่กับพื้นที่และชั้นดิน หรือสามารถปรับปรุงบ่อเก่าโดยขุดสะดือบ่อให้ลึกลงไปก็ได้เช่นกัน


ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด

ธนาคารน้ําใต้ดินระบบปิด

(ระบบครัวเรือน/ระบบร่องระบายน้ําไร้ท่อ/ระบบขนาดใหญ่) โดยการก่อสร้าง/ขุดบ่อหรือร่องระบายน้ําเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 – 60 ซม. หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส 50 X 50 เซนติเมตร ความลึก 1.20-1.50 เมตร หรือขนาดบ่อตามความเหมาะสมของพื้นที่ รวมทั้งอุปกรณ์ให้ใช้วัสดุที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และห้ามใช้วัสดุที่ทําลายสิ่งแวดล้อม

เน้นแก้ไขปัญหาการระบายน้ําท่วมขังจากน้ําฝน ช่วยลดปริมาณน้ําหลากในช่วงฝนตก สามารถช่วยครัวเรือนชาวบ้าน ชุมชนและท้องถิ่น ในการบริหารจัดการน้ําหลากในช่วงฝนตกให้ง่ายขึ้น

รูปทรงบ่อ ลักษณะเป็นหลุม ไม่จําเป็นต้องใช้พื้นที่มาก ไม่ต้องเปิดหน้าดินเป็นวงกว้าง มีขนาดตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร แล้วแต่สภาwพื้นที่อํานวย วางท่อ PVC เจาะรู เพื่อเป็นที่ตรวจการณ์ระดับน้ํา

• ขุดหลุมเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือวงกลม กว้าง 1-2 เมตร ระดับความลึกของหลุมแล้วแต่พื้นที่
มีความลึกตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ไปจนถึง 1-2 เมตร ใช้ก้อนหินใหญ่วางรองฐานเคลือบเต็มหลุม ใช้ ผ้ามุ้งหรือ Geotextile วางคลุมท่อแล้วทับด้วยหินขนาดเล็ก 

•ใช้หลักการขุดบ่อเพื่อส่งน้ําไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ําใต้ดิน โดยการขุดให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ํา สํารับบ่อปิดหนาดใหญ่ (หรือ ชั้นดินที่แห้งกระหายน้ําในกรณีของครัวเรือน)

วัสดุที่ใช้

1.หินใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้วขึ้นไป
2.หินเล็ก ขนาด 3/4 นิ้ว หรือ กรวดแม่น้ำ
3. ท่อ pvc ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 นิ้ว ความยาวแล้วแต่กำหนด เจาะรู 2 ด้าน ของท่อ ระยะห่าง 20 ซม
4. End Cap สำหรับปิดฝาท่อ
5.ผ้ามุ้ง หรือ ผ้า Geotextile สำหรับใช้กรองน้ำ


ขั้นตอนการทำระบบธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด

ขั้นตอนการทํา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1. สํารวจจุดรวมน้ําหรือจุดที่พบน้ําท่วมขัง โดยขุดบ่อ
ให้ทะลุชั้นหน้าดิน ขนาดแล้วแต่ธรณีวิทยา ของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)

2. ตั้งก่อ PVC เพื่อทําหน้าที่เป็น Monitoring Pipe สังเกตการณ์การซึมของน้ําภายในบ่อ ตรงกลางบ่อ 90องศา wร้อมนําวัสดุ เศษอิฐหิน หรือเศษวัสดุ ที่ไม่ย่อยสลายvนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุ ต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.60 เมตร หรือ เท่าความสูงของบ่อ

3. นําผ้า Geotextile หรือ ผ้าตาข่ายมุ่งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ํา ไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ําใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ด หล่นในช่องว่างทองวัสดุหยาบ)

4.นําหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ่งหรือผ้าสแลน จนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)


ผ้า Geotextile

ข้อดีของการใช้ผ้า Geotextile คลุมธนาคารน้ำใต้ดิน

1.ใช้งานง่าย สะดวก สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
2. ช่วยกรองเอาเศษวัสดุต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้น้ำสะอาดซึมลงไปใต้ดิน
3. สามารถหาซื้อได้ง่าย และเลือกประเภท

จำหน่ายผ้าใยสังเคราะห์ ,ผ้า Geotextile

👉สั่งซื้อและสอบถาม แผ่นใย Geotextile 


ข้อดีของการทําธนาคารน้ําใต้ดินแบบปิด

• สามารถทําให้น้ําไหลลงใต้ดินได้รวดเร็วขึ้น
• ช่วยป้องกันปัญหาน้ําท่วมขังภายในครัวเรือนในช่วงฤดูฝน
• ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้หน้าดิน
• ช่วยเพิ่มความชื้นให้ต้นไม้ในบริเวณ

 

ข้อควรระวังในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน

ในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินมีข้อควรระวังเช่นกัน คือ
1. ต้องศึกษาด้านธรณีวิทยาและด้านภูมิศาสตร์เพื่อหาจุดลุ่มต่ำหรือจุดที่เป็นทางน้ำไหล เพื่อทำให้นำไหลลงธนาคารน้ำใต้ดินได้
2. ไม่นำน้ำเสียลงบ่อน้ำใต้ดิน
3. หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีสารเคมีเจือปน เพราะสารเคมีอาจจะไหลรวมกับน้ำและไหลลงไปรวมกับน้ำในธนาคารน้ำใต้ดินได้

 

ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน

1.ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น
2.ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง เพราะสามารถสูบน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินใช้ได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำบาดาลมาใช้ได้
3.แก้ปัญหาน้ำเค็ม เพราะมวลน้ำเค็มจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำจืด ฉะนั้นน้ำเค็มจะอยู่ด้านล่าง
4.แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิดจะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น
5.เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับบริเวณที่ทำธนาคารน้ำใต้ดิน

ภาพจากเว็บ
https://www.pheupuangchon.com/107401/
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_118534
https://twitter.com/WisdomKingFan/status/1247834543890944000/photo/2

 

แชร์ให้เพื่อน