mfg

การใช้งานเหล็กเส้น


แชร์ให้เพื่อน

การใช้งานเหล็กเส้น

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า “เหล็กเส้น” นั้นใช้งานอะไรได้บ้าง อย่างที่เรารู้แล้วว่า เหล็กเส้นนั้น มี 2 แบบ คือ

เหล็กเส้นส่วนใหญ่ใช้เป็น “เหล็กเสริมคอนกรีต

ซึ่งเหล็กเส้นนั้น ปกติจะใช้เป็น “เหล็กเสริมคอนกรีต” คือใช้เป็นเหล็กที่อยู่ในโครงสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องเป็นเหล็กที่ได้ มาตรฐาน มี มอก. รับรอง วันนี้เรามาดูกันว่าเหล็กเส้นนั้น นำไปใช้งานอะไรบ้าง

1. ทำเป็นเหล็กปลอก ซึ่งส่วนใหญ่ ใช้เหล็กปลอก 6 มม. และ เหล็กปลอก 9 มม. ซึ่งนิยมใช้กันมากที่สุด
2. ใช้ทำเป็นตะแกรง สำหรับเทพื้นคอนกรีต หรือที่เรียกว่า ตะแกรงไวร์เมช นั่นเอง
3. ใช้ทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ในเสาขนาดใหญ่ เช่น เสาคอนโด หรือเสาตึกขนาดใหญ่ ต่างๆ หรือเสารถไฟฟ้า เสาอาคาร เป็นต้น
4.ใช้ตัดมาทำเป็นเหล็กจ๊อยถนน หรือเหล็กโดเวล
5.ใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กในผนังที่ต้องการความแข็งแรง เช่น ผนังรถไฟใต้ดิน ผนังตึกที่ต้องรับแรง เป็นต้น
6.งานกลึงหัวน็อตต่างๆ เป็นต้น

 

 

 

 

การใช้งานเหล็กเส้นตามขนาดความหนาของเหล็กเส้น

การใช้งานเหล็กเส้นตามขนาดความหนาของเหล็ก ส่วนใหญ่ใชงานดังนี้
– เหล็กเส้นกลม 6 มม. RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) เป็นเหล็กเส้นที่ทีความหนา 6 มม. ส่วนใหญ่ใช้สําหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นำไปผูกเป็นเสาขนาดเล็ก หรือนิยมใช้ทําปลอกเสา และปลอกคาน ใช้ผูกหรือเชื่อมเป็นตะแกรงไวร์เมช
– เหล็กเส้นกลม 9 มม. RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) มีขนาดใหญ่มากกกว่าเหล็ก 6 มม. ใช้สําหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากคล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน หรือใช้ดัดทำเหล็กปลอกเสาและปลอกคาน หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงไม่มากนัก เช่นเสาบ้านชั้นเดียวเป็นต้น ใช้ผูกหรือเชื่อมเป็นตะแกรงไวร์เมช
– เหล็กเส้นกลม 12 มม. RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สําหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทําให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน็อตต่างๆ ใช้ผูกหรือเชื่อมเป็นตะแกรงไวร์เมช
– เหล็กเส้นกลม 19 มม. RB19 ใช้สําหรับงานทําถนนทั้งนำไปผูกเป็นตะแกรงเพื่อเทคอนกรีต หรือทำเป็นตะแกรงไวร์เมช ในการเทคอนกรีต เป็นต้น
– เหล็กเส้นกลม 25 มม. RB25 ใช้ทําเป็นเหล็กโครงสําหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ําหนักได้ดี หรือผูกเป็นโครงสร้างของเสาหรือผนัง ที่ต้องการับแรงสูงๆ เป็นต้น

แชร์ให้เพื่อน