เทคนิคการเลือกซื้อเหล็กเส้น

แชร์ให้เพื่อน

เทคนิคการเลือกซื้อเหล็กเส้น

ในการก่อสร้างเกือบทุกไซต์งานก่อสร้าง ต้องมีการใช้งาน “เหล็กเส้น” เพราะเหล็กเส้นถือเป็นเหล็กพื้นฐานที่ใช้งานเยอะมาในงานก่อสร้างทุกรูปแบบ วันนี้เรามีข้อแนะนำ และเทคนิคในการเลือกซื้อเหล็กเส้น ให้ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับการใช้งานของท่านกันครับ

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อเหล็กเส้น

1.มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เครื่องหมาย มอก. เป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพของเหล็กเส้น ถือว่าเหล็กเส้นได้รับมาตรฐานที่เหมาะกับการใช้งาน ซึ่งเหล็กเส้นที่เลือกซื้อควรจะมีเอกสาร มอก. รับรองมาตรฐานของเหล็ก เช่น มอก. 24-2559 ,มอก.20-2543 ,มอก. 24-2548 เป็นต้น

2.ขนาด ขนาดความหนาของเหล็กที่ต้องเป็นเหล็กเต็ม ขนาดของเหล็กเส้นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
– เหล็กเส้นกลมมีขนาด 6 มม./ 9 มม./ 12 มม./ 15 มม./ 19 มม. และ 25 มม.
– เหล็กข้ออ้อยมีขนาด 10 มม./ 12 มม./ 16 มม./ 20 มม./ 25 มม./ 28 มม. และ 32 มม.

ขนาดของเหล็กควรเป็นเหล็กเต็ม เวลาวัด ต้องได้ขนาดที่ตรงกับมาตรฐาน

3.ความยาวของเหล็กเส้น ที่มีให้เลือกประมาณ 10 เมตร หรือ 12 เมตร โดยปกติเหล็กเส้นที่ตัดจะมีความยาว 2 ความยาวคือ
– 10 เมตร
– 12 เมตร

4.น้ำหนักของเหล็กเส้น เหล็กเส้นต้องมีน้ำหนักได้มาตรฐาน

RB6 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 6%/เส้น
RB9 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 10%/เส้น
DB12 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 6%/เส้น
DB19 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 5%/เส้น
DB32 : ควรมีน้ำหนักบวกลบไม่เกิน 4%/เส้น

5.บริษัทผู้ผลิตเหล็กเส้น บริษัทผู้ผลิตต้องเป็นบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน
บริษัทที่ผลิตเหล็กเส้น มอก.โรงใหญ่ มี TATA, SKY, TY, TXS,TSB, TDC,TSC, ZUBB, BSBM, PSL SSS, MILLCON, BNSS เป็นต้น

6.ความแข็งแรงทนทานและความเหนียว ของเหล็กต้องมีความแข็งแรง และทนทาน เพราะต้องใช้งานไปอีกนาน เนื้อเหล็กจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่หยาบเป็นเกร็ดหรือแตก เหล็กต้องไม่เป็นสนิม


ข้อควรระวังในการซื้อเหล็กเส้น

1. อย่ามองราคาเป็นเรื่องสำคัญ อย่าว่าเหล็กราคาราคาถูกแล้วเลือกซื้อมาใช้เลย เพราะอาจจะได้เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นเหล็กมือสอง หรือเหล็กเกรด B ,เหล็กเบา เป็นต้น ซึ่งสังเกตุได้ง่ายๆคือ เนื้อเหล็กตะไม่แน่น ผิวไม่เรียบ
2.ควรเช็คและตรวจสอบเหล็กเส้น หลังที่ได้รับเข้าไซต์งานทุกครั้ง เพื่อให้ได้เหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานหมาะกับการใช้งาน

เทคนิคขั้นต้น เป็นการเลือกซื้อเหล็กเส้น ที่ท่านสามารถนำไปพิจารณา ปรับใช้ในการซื้อเหล็กเส้นมาใช้งาน ซึ่งทำให้ท่านได้เหล็กที่ดี มีมาตรฐานมาใช้งานได้

แชร์ให้เพื่อน

เหล็กเส้นใช้ทำอะไร

แชร์ให้เพื่อน

เหล็กเส้นนำไปใช้ทำอะไร

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูการใช้งานของเหล็กเส้นนั้น นำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

เหล็กเส้นเบื้องหลังของงานก่อสร้าง เกือบทุกชนิด ซึ่งเหล็กเส้นแต่ละขนาดก็นำไปใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้

เหล็กเส้นกลม เหล้กเส้นกลมคือเหล็กเส้นที่กลม มน ใช้ในงานหลายชนิดดังนี้

  • RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปลอกเสา และปลอกคาน ทำหนวดกุ้ง หรือทำตะแกรงเหล็กแทนไวร์เมชสำหรับเทถนน เหล็กกลมขนาด 6 มิลลิเมตร สามารถนำมาตัดนำไปใช้ทำเหล็กปลอก ขนาด 6 มม. เพื่อใช้ทำปลอกเสา ปลอกคานต่อไป
  • RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก ทำปลอกเสา ปลอกคานที่ขนาดใหญ่ขึ้น คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน หรือนำไปทำตะแกรงเหล็กแทนไวร์เมชสำหรับเทถนน เป็นต้น
  • RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ปูนยึดเกาะไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน๊อตต่าง ๆ หรือเสริมคอนกรีตทำตอม่อ อาคาร เพื่อความแข็งแรง
  • RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน ตัดเป็นเหล็กโดเวลหรือเหล็กจ๊อยท์ เพื่อใช้ในงานทำถนน
  • RB25 ใช้ทำเป็นเหล็กสตัท ใช้สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่ เช่นป้ายริมถนนมอเตอร์เวย์ ป้ายขนาดใหญ่ตามทางด่วน เพราะสามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

**** หมายเหตุ
ในปัจจุบันนิยมใช้เหล็กปล้องอ้อยมากกว่า เพราะรับแรงดึงได้ดีกว่า และปูนยึดเกาะได้ดีกว่า

แชร์ให้เพื่อน