โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide)
ชื่อพ้อง หรือชื่ออื่นของ โซดาไฟ, โซดาไฮเดรท, โซดาแผดเผา, Caustic soda, Sodium hydrate, Lye, Soda lye, Caustic flake
สูตรโครงสร้างทางเคมี NaOH ของโซดาไฟ
- มวลโมเลกุล 40.00
- ความเข้มข้นในผลิตภัณฑ์ขจัดสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง
- ในรูปของแข็ง ประมาณ 53-55% โดยน้ำหนัก
- ในรูปสารละลาย ประมาณ 24-25% โดยน้ำหนัก
ลักษณะเฉพาะของโซดาไฟ
1. เป็นก้อนผลึกหรือผงสีขาว หรือเป็นเกล็ดโซดาไฟ หรือเป็นแบบไข่มุก
2. ละลายน้ำได้ด่างแก่
3. มวลอะตอมเท่ากับ 39.9971 กรัม/โมล
4. ความหนาแน่น 2.1 กรัม/ลบ.ซม.
5. จุดหลอมเหลวที่ 318 องศาเซลเซียส
6. จุดเดือดที่ 1390 องศาเซลเซียส
7. ความสามารถในการละลายน้ำ 111 กรัม/100 มล. ที่ 20 องศาเซลเซียส
การเกิดพิษของโซดาไฟ
- เกิดจากการรับประทาน การสัมผัส หรือการสูดดมไอระเหย ที่เข้มข้นหรือมากเกินไป
- กลไกการออกฤทธิ์ การเกิดพิษ
- มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรง หากรับประทานเข้าไป ต้องทำการล้างท้อง และไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
อัพเดท แพคเกจโซดาไฟ 2566
ประโยชน์ของโซดาไฟ
โซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟ ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ สารเคมีอนินทรีย์ สารเคมีอินทรีย์ สบู่ เท็กซ์ไทล์ ใช้ทำความสะอาดขวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมเบียร์และเครื่องดื่ม โดยทั่วไปจะใช้เพื่อฆ่าเชื้อและทำความสะอาด ใช้เพื่อขจัดสิ่งอุดตันในท่อน้ำทิ้ง การทำไม้ ใช้ในแบตเตอรี่
อาการแสดงพิษและการวินิจฉัย
พิษของโซดาไฟ ที่อาจจะเกิดกับร่างกาย
ระบบหายใจ (จากการสูดดมไอระเหยเข้าไป)
– การหายใจเอาไอระเหยที่ขึ้นจากท่อหลังการเทสารลงไป ทำให้หายใจติดขัด ลำบาก ทำลายเนื้อเยื่อปอด
– คอบวม
ตา, หู, จมูก, และ ลำคอ
– ทำให้เจ็บปวดอย่างรุนแรงและเป็นแผลพุพองในลำคอ จมูก ตา หู ริมฝีปาก และลิ้น
– รุนแรงถึงขั้นตาบอดได้
– ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งทางเดินอาหารได้ในภายหลัง 12-42 ปี
กระเพาะอาหาร และลำไส้
– ถ้ารับประทานเข้าไป จะระคายเคืองหลอดอาหารอย่างรุนแรง เป็นแผลไหม้
– ปวดท้องอย่างรุนแรง
– อาเจียน
– อาเจียนเป็นเลือด
– มีเลือดออกในอุจจาระ
หัวใจและหลอดเลือด
– ความดันต่ำอย่างรวดเร็ว
– หลอดเลือดตีบ
ผิวหนัง
– ระคายเคือง จนถึงผิวหนังไหม้พุพอง
– ผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างใต้ผิวหนังตาย
– หากสัมผัสสารซ้ำๆเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการแห้งแตก เกิดอาการอักเสบของผิวหนัง
– นอกจากนี้ผิวหนังที่ถูกสารกัดอย่างรุนแรงก็อาจเป็นมะเร็งได้
เลือด
– ความเป็นกรดด่างเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง นำไปสู่การทำลายอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย
ความรุนแรงของการเกิดพิษขึ้นกับปริมาณ และความเข้มข้นของสารที่ร่างกายได้รับ รวมทั้งการเจือจางและการสะเทินด่างอย่างรวดเร็ว อาจเกิดการทำลายอย่างรุนแรงที่เนื้อเยื่อปาก ลำคอ ตา ปอด หลอดลม จมูกและกระเพาะอาหาร การทำลายหลอดลมและกระเพาะอาหารจะยังคงอยู่อีกหลายสัปดาห์ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ถึงแม้เวลาผ่านไปแล้วเป็นเดือนหลังการรับประทานเข้าไป
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับพิษจากโซดาไฟ
ไม่มียาต้านพิษ วิธีปฐมพยาบาลจะทำตามอาการ
- ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง
– ให้รีบล้างด้วยน้ำมากๆเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที พร้อมกับถอดชุดอุปกรณ์ต่างๆที่เปื้อนสารออก หากยังไม่หายระคายเคืองให้ทำซ้ำ แล้วรีบนำส่งแพทย์
- ถ้าสัมผัสถูกตา
– ให้รีบล้างด้วยน้ำอุ่นโดยค่อยๆให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ระวังอย่าให้น้ำล้างตาไหลเข้าตาข้างที่ไม่โดนพิษ หากยังไม่หายระคายเคือง ให้ทำซ้ำ แล้วรีบนำส่งแพทย์
- ถ้ารับประทานเข้าไป
– อย่าทำให้คนไข้อาเจียนออกมา
– ให้คนไข้ดื่มน้ำหรือนมทันที แต่ถ้าคนไข้กำลังอาเจียนหรือหมดสติไม่ควรให้ของเหลวใดๆ
- ถ้าคนไข้สูดดมเข้าไป
– เคลื่อนย้ายคนไข้ไปในที่อากาศบริสุทธิ์ ให้พักผ่อน ในลักษณะกึ่งตั้งตรง
– อาจต้องให้เครื่องช่วยหายใจ
- ก่อนนำส่งแพทย์ ควรเตรียมข้อมูลเหล่านี้
– อายุ น้ำหนัก และ ภาวะของคนไข้
– ชื่อของผลิตภัณฑ์ (องค์ประกอบและความแรง)
– เวลาที่มีการรับประทานเข้าไป
– ปริมาณที่รับประทานเข้าไป
ข้อควรระวังในการใช้งานโซดาไฟ
– ควรระบุ “สารอันตราย” (Danger) และ “สารเป็นพิษ” (Poison) ที่ฉลาก
– ควรมีคำเตือนให้หลีกเลี่ยงการบีบภาชนะบรรจุแบบถี่ๆ ป้องกันการกระเด็นโดนผิวหนังและตา
– สวมหน้ากากป้องกันสารพิษ ถุงมือ รองเท้าบู้ท และแว่นนิรภัยเพื่อความปลอดภัย
– ถุงมือที่ใช้ควรเป็นประเภท ไนไตรล์ นีโอปรีน หรือถุงมือยาง
– หลีกเลี่ยงการสูดไอเข้าสู่ร่างกาย และใช้ในบริเวณที่มีการหมุนเวียนอากาศที่ดีพอ
– ถ้ามีการสัมผัสโดนส่วนใดของร่างกาย ควรรีบล้างออกด้วยน้ำปริมาณมากๆ
– ไม่เป็นสารที่ลุกไหม้ได้ แต่เมื่อเป็นของแข็ง จะเป็นสารที่ดูดความชื้น และเมื่อเกิดปฏิกิริยากับน้ำ หรือเจือจางด้วยน้ำ จะทำให้เกิดความร้อนมากเพียงพอให้เกิดการเผาไหม้ได้ ถ้าอยู่ใกล้กับสารที่ติดไฟ นอกจากนั้นไอระเหยที่เกิดขึ้นยังมีฤทธิ์กัดกร่อนทางเดินหายใจอย่างรุนแรง
– เมื่อเป็นสารละลายอาจเกิดปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมและโลหะอ่อนอื่นๆทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟ หรือระเบิดได้เมื่อเกิดการเผาไหม้
– การละลาย หรือเจือจางสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ควรเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทีละน้อย ลงในน้ำ อย่าเติมน้ำลงในโซเดียมไฮดรอกไซด์(โซดาไฟ)
สารที่เข้ากันไม่ได้
– ทำปฏิกิริยากับโลหะ เกิดก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเผาไหม้และระเบิดได้
– เข้ากันไม่ได้กับสารออกซิไดส์อย่างแรง กรดอย่างแรง สารอินทรีย์ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี และสารประกอบไนโตร รวมทั้งสารอินทรีย์ที่มีธาตุฮาโลเจนเป็นองค์ประกอบ ทำให้ลุกไหม้และระเบิดได้
– ดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ
การเก็บรักษาโซดาไฟ
– เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดฝาแน่นเรียบร้อย ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
– ไม่ควรใช้ภาชนะที่ทำจากอลูมิเนียม สังกะสี ดีบุก ตะกั่ว แก้ว ในการบรรจุ
– ไม่เก็บในที่มีความชื้น และให้ห่างไกลจากน้ำ
– เวลาเก็บตั้งภาชนะให้ตรง เก็บในบริเวณที่แห้งและมีอากาศถ่ายเทสะดวก
– เวลาเปิดจุกควรเปิดด้วยความระมัดระวัง ป้องกันแรงดันภายในภาชนะ
การกำจัดโซดาไฟ
– สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจางปริมาณน้อยสามารถเททิ้งลงอ่างน้ำ แล้วเปิดน้ำตามปริมาณมากๆ แต่ถ้ามีปริมาณมากควรสะเทินเสียก่อนค่อยเททิ้ง
– ไม่ควรเททิ้งบนพื้นดิน และไม่ทิ้งร่วมกับขยะในบ้าน
ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่อาจมีโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นส่วนประกอบ (มักมีในปริมาณน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ขจัดสิ่งอุดตัน)
– ตัวทำละลายและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ซีเมนต์
– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอิฐ
– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดตู้อบ
– ผลิตภัณฑ์ยืดผม
– ผลิตภัณฑ์ขัดโลหะ
– น้ำด่าง (Lye)
จำหน่ายโซดาไฟเพื่อใช้ในโรงงานอุตสหกรรม | |
---|---|
ชื่อสินค้า | โซดาไฟ (สามารถส่งสินค้าให้ทดลองได้) |
การใช้งาน | ใช้ในโรงงานอุตสหากรรม เช่น การผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ |
ขนาด | 25 กิโลกรัม |
น้ำหนัก | 25 กิโลกรัม |
สั่งซื้อขั้นต่ำ | 500 กก. 20 ถุง / ถุงละ 25 กิโลกรัม |
เวลาจัดส่ง | มีของพร้อมส่ง |
การขนส่ง | * ส่งฟรี กทม ปริมณฑล * รับของเองที่ กรุงเทพ กรีฑา 33 |
ราคา | สอบถามโทร 086-772-6734 หรือ แอดไลน์ @mth3979h |
ชนิดของโซดาไฟ
โซดาไฟเกล็ด เป็นโซดาไฟที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรม มีการผลิตเยอะ มีหลายเกรดเช่น โซดาไฟเกรด 99% ปกติโซดาไฟแบบเกล็ดมักนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม
โซดาไฟเกล็ดแบบไข่มุก เป็นโซดาไฟที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ลักษณะเป็นโซดาไฟเกล็ดแขขไข่มุด สวยงาม ที่ทั้งขนาดเกล็ดที่ใหญ่และเล็กตามขนาดที่โรงงานผลิตนั่นเอง
การนำโซดาไฟ ไปใช้งาน
ขณะใช้สารเคมีประเภทกรดหรือด่างอย่างแรงเพื่อขจัดสิ่งอุดตัน ต้องสวมถุงมือและแว่นนิรภัยป้องกันการกระเด็นเข้าตา หลีกเลี่ยงการสูดดมไอที่เกิดขึ้น ถ้าใช้แล้วยังไม่ได้ผลท่อยังอุดตันอยู่ อย่าพยายามใช้ตัวปั๊มดันสิ่งอุดตันลงไป ซึ่งอาจจะทำให้สารเคมีในท่อถูกดันกลับขึ้นมาด้านบน และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อมาใช้เพิ่มเข้าไป การใช้สารเคมีต่างชนิดผสมกันอาจทำให้เกิดก๊าซพิษหรือเกิดปฏิกิริยาแล้วดันกลับขึ้นมาด้านบนได้ ถ้าสารเคมีดังกล่าวไม่ได้ผลท่อยังคงมีการอุดตันอยู่ควรเรียกช่างมาซ่อม โดยต้องบอกด้วยว่าใช้ผลิตภัณฑ์อะไรไปแล้วเพื่อให้ช่างหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายแก่ตัวช่างเอง
* การเก็บสารเคมีดังกล่าวควรเก็บให้พ้นมือเด็ก