จำหน่ายไม้อัด ราคาโรงงาน จากโรงงานผู้ผลิต ส่งตรงถึงหน้างาน มอก. 178-2549 สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับไม้อัดกันน่ะครับ ไม้อัดเป็นวัสดุก่อสร้างประเภทหนึ่งและเป็นวัสุดสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ที่เราคุ้นชิน และเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว ซึ่งจัดเป็นวัสดุก่อสร้างประเภทไม้ ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งไม้อัดที่ทำจากไม้แบบต่างๆมากมาย วันนี้เรามาททำความรู้จักกับไม้อัดกันให้มากขึ้น
ไม้อัด ไม้อัดตราภูเขา
ไม้อัด มอก. 178-2549
ไม้อัดคืออะไร
ไม้อัด เกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุง หรือฝานให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ มีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 4 มิลลิเมตร แล้วนำมาอัดติดกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสานโดยให้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยน ตั้งฉากกัน แผ่นไม้จะถูกอบแห้งในเตาอบ ไม้อัดมีขนาดกว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต หรือ 1.22*2.44 เมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐาน หนา 4,6,8,10,15 และ 20 มิลลิเมตร
ขนาดมาตรฐานของไม้อัดคือ 1.22*2.44 เมตร
ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวางในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จากนั้นนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย ซึ่งจะมีจำนวนตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป นำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย *** ข้อมูลเกี่ยวกับไม้วีเนียร์
ขนาดของไม้อัด
ขนาดของไม้อัด กว้าง 1.22 เมตร ยาว 2.44 เมตร ขนาดความหนา ตั้งแต่ 4,6,8,10,15 และ 20 มิลลิเมตร
กระบวนการผลิตไม้อัด
1.เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม
2.ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8 -1.2 มม.
3.นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไปออก
4. ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1,240 มม.,ความยาวประมาณ 2,450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2,450 มม., ความยาวประมาณ 1,240 มม.
5. นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย ( ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน
6. นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป ) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว
ประเภทของไม้อัด
ไม้อัดมีประเภทไหนบ้าง ลองมาดูกันครับ
ไม้อัด – Plywood
ผลิตภัณฑ์ที่นำเยื่อไม้แผ่นบางๆ ซึ่งมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกันมาอัดสลับกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษเพื่อให้แข็งแรงและลดการขยายตัวหรือหดตัวของไม้ เหมาะกับการใช้งานทั้งภายในและภายนอก ทำเฟอร์นิเจอร์ ตู้ โต๊ะ งานหล่อแบบคอนกรีต งานเทพื้น
- ไม้อัด เฟอร์นิเจอร์
- ไม้อัดแบบ
- ไม้อัดเคลือบฟิล์ม
ประเภทของไม้อัดบาง
* ไม้อัดชนิดไม้บาง (Plywood) มักจะถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป เพราะมีราคาไม่แพง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
- แบบแผ่นไม้อัด ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้แผ่นบางๆมาอัดกาวทาเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ
- แบบแผ่นไม้อัดไส้ระแนง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้อัดประกบหน้าหลัง ส่วนตรงกลางเป็นไม้ระแนง จะแบ่งเป็นเกรดตามราคา วัสดุ และความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน
ไม้แผ่นปาร์ติเกิล – PARTICLE BOARD
* ไม้อัดชนิดชิ้นไม้ (Particleboard) ผลิตภัณฑ์แผ่นไม้อัดทางด้านวิศวกรรมชนิดหนึ่ง ผลิตจากเศษชิ้นไม้ที่ขนาดต่างๆ (Flake) ที่ได้จากกระบวนการสับ – ย่อย – บด ไม้ขนาดเล็กจากธรรมชาติ แล้วประสานด้วยกาวและสารเคมีโดยใช้ความร้อนและแรงดัน ในการขึ้นรูปเป็นแผ่นไม้ ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องจักร ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ผิวหน้าไม้มีความเรียบเหมาะสมกับการปิดผิวด้วยวัสดุตกแต่งผิวหน้าต่างๆ เช่น กระดาษ, PVC, HPL, Veneer และ Melamine ได้ เนื้อไม้แข็งแรงทนทานสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับใช้ทดแทนไม้ธรรมชาติ ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายใน เป็นไม้อัดที่จะมองเห็นเนื้อเป็นไม้ชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
- แผ่นชิ้นไม้อัด มีลักษณะเป็นชิ้นไม้หรือวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรนำมาย่อย แล้วนำมาทำเป็นแผ่นโดยมีกาวเป็นตัวประสาน
- แผ่นเกล็ดไม้ คือการนำชิ้นไม้มาอัดรวมกันเป็นแผ่น
- ไม้อัดไส้พาร์ทิเคิล มีขั้นตอนการทำด้วยการนำชิ้นไม้และวัสดุมาอัดรวมให้เป็นแผ่นเดียวกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสาน จากนั้นจึงปิดผิวทั้งสองด้านด้วยไม้บางหรือไม้อัดแผ่น ป้องกันความชื้นและปลวก แผ่นไม้อัดชนิดชั้นไม้มักจะนำมาปิดทับด้วยพลาสติกฟอร์ไมก้า และนำไปใช้ผลิตเครื่องเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์
ไม้อัดชนิดเส้นใยไม้ (Fiberboard)
ผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ เอ็ม ดี เอฟ ผลิตจากการสับไม้ให้เป็น Chip บดให้เป็นเยื่อ (Fiber) และอบให้แห้ง แล้วนำไปผสมกับกาวแล้วอัดให้เป็นแผ่นด้วยแท่นอัดร้อน ขัดผิวและตัดขนาดตามมาตรฐาน เหมาะสำหรับทำหน้าบานเฟอร์นิเจอร์ บานประตู ด้วยผิวหน้าเรียบและขึ้นรูปง่าย เนื้อในมีความหนาแน่น ระดับปานกลาง เหมาะสมกับการปิดผิวด้วยวัสดุตกแต่งผิวหน้าต่างๆ เช่น กระดาษ ,PVC, HPL, Veneer และ Melamineได้
- แผ่นใยไม้อัดแข็ง เกิดจากการนำเส้นใยประเภทต่างๆ หรือนำวัสดุที่ให้เส้นใยมารวมกันเป็นแผ่นด้วยกรรมวิธีเปียก จากนั้นจึงนำมาทำการอัดร้อนให้เป็นแผ่นด้วยกรรมวิธีแห้งและมีกาวเป็นตัวประสาน
- แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นสูง (Medium Density Fiber Board หรือ MDF) เกิดจากการนำเส้นใยจากเนื้อไม้หรือวัสดุอื่นๆ ที่ให้เส้นใยเข้ามารวมกันแล้วทำการอัดด้วยความร้อนให้มีความหนาแน่นมากกว่า 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นสูงนี้เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ ไม้อัดชนิดเส้นใยไม้มักจะถูกนำไปปิดทับด้วยฟอร์ไมก้าเคลือบเมลานีน หรือ แผ่นวัตถุกันร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของไม้อัดในการนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
* ไม้อัดสารแร่ (Wood Mineral-bonded Panel) เกิดจากการผสมเศษไม้ชิ้นเล็ก เช่น ชิ้นไม้ ฝอยไม้ หรือใยไม้ เข้ากับสารแร่ต่างๆ อย่างเช่น ซีเมนต์ ยิปซั่ม โดยสามารถแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 2 ชนิดคือ แผ่นไม้อัดซีเมนต์ มีทั้งแบบที่เป็น ชิ้นไม้, ฝอยไม้ และ เส้นใยไม้ ผสมกับซีเมนต์ แล้วขึ้นรูปให้เป็นแผ่น อัดค้างในแบบจนซีเมนต์แข็งตัว แผ่นไม้อัดยิปซั่ม มีทั้งแบบที่ใช้แผ่นชิ้นไม้ หรือแผ่นใยไม้ ผสมกับยิปซั่ม ไม้อัดสารแร่มักจะใช้ในงานก่อสร้างและตกแต่งทั่วไปแต่มีจุดเด่นอยุ่ที่เนื้อของไม้อัดจะสามารถทนความชื้นได้ดีกว่าไม้อัดชนิดอื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งวัสดุแผ่นปิดทับ เกิดจากการผสมเศษไม้ชิ้นเล็ก เช่น ชิ้นไม้ ฝอยไม้ หรือใยไม้ เข้ากับสารแร่ต่างๆ อย่างเช่น ซีเมนต์ ยิปซั่ม โดยสามารถแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 2 ชนิดคือ
- แผ่นไม้อัดซีเมนต์ มีทั้งแบบที่เป็น ชิ้นไม้, ฝอยไม้ และ เส้นใยไม้ ผสมกับซีเมนต์ แล้วขึ้นรูปให้เป็นแผ่น อัดค้างในแบบจนซีเมนต์แข็งตัว
- แผ่นไม้อัดยิปซั่ม มีทั้งแบบที่ใช้แผ่นชิ้นไม้ หรือแผ่นใยไม้ ผสมกับยิปซั่ม ไม้อัดสารแร่มักจะใช้ในงานก่อสร้างและตกแต่งทั่วไป แต่มีจุดเด่นอยุ่ที่เนื้อของไม้อัดจะสามารถทนความชื้นได้ดีกว่าไม้อัดชนิดอื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งวัสดุแผ่นปิดทับ
ประเภทของไม้อัด (Plywood) แบ่งตามลัษณะ
- ไม้อัดนั้นแบ่งตามกาวที่ใช้ประเภทภายนอกใช้ กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ ทนต่อน้ำ น้ำทะเล ละอองน้ำร้อน ละอองน้ำเย็น ทนต่อความชื้นอากาศ น้ำเดือด ไอน้ำ และความร้อนแห้ง ได้ดี เหมาะสำหรับใช้ภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำ นิยมใช้ในงานก่อสร้าง งานป้าย advertise กลางแจ้ง งานแแบบก่อสร้าง งานพื้นเวทีการแสดง งานก่อสร้างริม ทะเล งาน furniture ผนังกันห้อง ใช้งานในเรือเดินทะเล ประโยชน์ใช้งานหลากหลาย จึงเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะงาน แบบหล่อคอนกรีตและต่อเรือ
- ไม้อัดกันน้ำ ไม้อัดกันน้ำ คือ แผ่น ไม้สน,ไม้ยาง pine wood , rubber wood บาง นำมาอัดสลับชั้น หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการประกอบสมดุล โดยการนำไม้บางหลายแผ่นมาประกอบให้ยึดติดกันด้วยกาว ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ความแข็งแรง ของไม้อัด มีความทนต่อแรงบิด แรงเฉือน shear force แรงดัดตัว bending force คุณสมบัติกันน้ำได้ พอสมควร และลดการขยายตัว และ หดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด
- ไม้อัดฟิล์ม (ไม้อัดฟิล์มดำ, ไม้อัดฟิล์มเขียว) ไม้อัดฟิล์ม ผลิตจาก แผ่นไม้สน,ไม้ยาง pine wood , rubber wood บาง นำมาอัดสลับชั้น ยึดติดกันด้วยกาว แล้วปิดผิวไม้ด้วยฟิล์ม phenolic หรือ melamine สี น้ำตาล สีดำ (brown or black) . Film ชนิดนี้กันน้ำ ละอองน้ำร้อน ละอองน้ำเย็น น้ำทะเล ความชื้นสูง ได้ดี film ลื่นเงา ไม่เกาะปูน คอนกรีต ผิวของไม้อัดเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มบางๆ อัดด้วยความร้อนสูง มีความลื่น จึงสามารถนำมาใช้ในงานหล่อแบบได้จำนวนหลายครั้งต่อหนึ่งหน้า ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ , น้ำตาล จึงได้รับความนิยม ใช้ในงานแบบ ก่อสร้าง งาน ต่อเรือ ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ความแข็งแรง ของไม้อัด ความทนต่อแรงบิด แรงเฉือน shear force แรงดัดตัว bending force คุณสมบัติกันน้ำได้ พอสมควร และลดการขยายตัว และ หดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด
การใช้งานไม้อัด
ไม้อัดสามารถนำไปใช้งานอะไรได้บ้าง ลองมาดูกันครับ
- ใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น ตู้ โต๊ะ ต่างๆ เพราะด้วยลายไม้มีความสวยงาม เมื่อทาสีน้ำมันทับก็จะให้ความสยงาม
- ใช้กั้นห้อง หรือบุผนังเพื่อเพิ่มความสวยงาม ทั้งนี้ จะใช้กั้นห้องก็ได้
- ใช้ตกแต่งบ้านหรือร้านค้าต่างๆ 4 มม. – 6มม. ทำเฟอร์นิเจอร์ ตู้เฟอร์นิเจอร์ 10-20 มม. ใช้กั้นห้อง พื้นเตียง เพดาน ชั้นวางของ
การเลือกซื้อไม้อัด
วิธีการเลือกซื้อไม้อัด เลือกอย่างไร ลองมาดูกันครับ 1.หน้าเรียบหรือปล่าว ไม่มีคลื่น ไม่เป็นจ้ำ ไม่มีเสี้ยน 2.ไส้แน่นหรือปล่าว ลองยกดูว่า น้ำหนักดีมั๊ย ถ้าน้ำหนักดี แสดงว่าไส้แน่น ลายของไม้อัดมี 2 แบบ
- ลายภูเขา เป็นลายคลื่นๆ คล้ายภูเขา
- ลายเส้นตรง เป็นแนวตรงคล้ายรูปตัว V
เกิดจากการตัดท่อนซูงในแนวที่ต่างกัน
เทคนิคการใช้งาน ไม้อัดกันน้ำ,ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ
ก่อนใช้งานไม้อัดกันน้ำ, ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ ควรใช้ผ้าเช็ด ทำความสะอาดผิวไม้อัด ก่อน. เนืองจากเศษฝุ่น เศษดิน เศษปูน ที่ติดผิวไม้อัดกันน้ำ จะมีผลต่อความเรียบเงา ของผิวคอนกรีต – ไม้อัดที่ใช้งานแล้ว อาจมีเศษปูน ดิน ติดอยู่ควรทำความสะอาด ก่อนเก็บรักษา – เมื่อมีการตัดเจาะ ไม้อัดกันน้ำความใช้ สีกันน้ำทาขอบเพื่อกันน้ำซึมเข้า เพื่อยีดอายุการใช้งาน ในยาวนาน เป็นการ save cost ทางหนึ่ง – ไม้อัดใช้ ไม้อัดกันน้ำ, ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำได้ 2 หน้าสลับกันไป. เพื่อเป็นการลดแรงstress ของผิวไม้ และเนื้อไม้ด้านที่เพิงใช้งานเสร็จ – การเก็บรักษา ใน store ในที่ร่ม แห้ง เป็นการเพิ่มอายุการใช้งาน ได้มาก. กรณีวางกลางแจ้ง ควรมีผ้ายางคลุมไว้ หากเก็บรักษาดีจะทำให้ไม้อัดใช้งานได้ นานนับปีเป็นการ save cost ทางหนึ่ง
ไม้อัดตราภูเขา มอก. 178-2549 คุณสมบัติของไม้อัด
- มีความแข็งแรงทนทานสูง มีความคงตัวไม่ยืดหด และแตกง่าย
- สามารถตอกตะปูหรือใช้ตะปูควงขันใกล้ขอบแผ่น หรือทุกส่วนได้รอบด้าน
- สามารถตัดด้วย เลื่อย และฉลุได้ง่าย ไม่แตกหัก สามารถโค้งงอได้โดยไม่ฉีกหัก
- เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี
- สามารถรับน้ำหนักได้ในอัตราที่สูงกว่าไม้ธรรมดา
ประโยชน์ใช้สอย
- ใช้เป็นโครงหล่อเสาคอนกรีตในการก่อสร้าง
- เป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์
- โครงสร้างกล่องไม้
- สำหรับรองพื้นที่นอนหรือเตียง
- ทำผนังห้อง,ฝ้าเพดาน
คุณสมบัติเด่น
- มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับงานหลายประเภท ทั้งภายใน และภายนอก
- ผลิตจากไม้จริง
- ตกแต่งทาสีได้หลายสไตล์
- ติดตั้งง่าย ลดต้นทุนก่อสร้าง
- แข็งแรง ทนทาน
- เป็นฉนวนกันความร้อน
คุณสมบัติทั่วไป ผลิตขึ้นโดยนำไม้เข้าเครื่องปอกหรือเครื่องฝาน ออกมาเป็นแผ่นไม้และนำไปเข้ากรรมวิธีอัดโดยสลับชั้น ไม้อัดยางเลยมีความแข็งแรงและ ยื่นหยุ่นสูง เหมาะสำหรับงานหลายประเภท ทั้งภายใน และภายนอก โดยขึ้นอยู่กับชนิดกาวที่ใช้ รายละเอียดสินค้า ขนาดมาตรฐาน ไม้อัดตราภูเขา : 4 x 8 ฟุต ความหนามาตรฐาน: 10,15,20 มิล
มอก. 178-2549