mfg

คอนกรีตเสริมเหล็ก(ค.ส.ล.)


แชร์ให้เพื่อน

จำหน่ายคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เช่น 

คอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.)

สวัสดีครับ เราได้ยินคำว่า “คอนกรีตเสริมเหล็ก” กันมานาน วันนี้ เรามาทำความเข้าใจกันว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก หมายถึงอะไรกันครับ 

คสล. ย่อมาจาก โครงสร้างเหล็ก
คสล. หมายถึง โครงสร้างเหล็ก (Steel Structure) คำย่อภาษาไทยคือ “คสล.”

คสล. ย่อมาจาก โครงสร้างเหล็ก

หากเขียนว่า “ค.ส.ล.” จะหมายถึง “คอนกรีตเสริมเหล็ก”

หากเขียนว่า “ค.ส.ล.” จะหมายถึง “คอนกรีตเสริมเหล็ก” คำว่า “คสล.” บางคนเรียกคอนกรีตเสริมแรง เป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งหมายถึงโครงสร้างใด ๆ ก็ตามที่ประกอบจากเหล็กรูปพรรณที่มีภาคตัดกลวงหรือตัน ท่อที่มีค่าหน่วยแรงดึงคลากไม่เกิน 690 เมกาปาสกาล (7,036 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) และจะต้องมีความหนาในทุกส่วนภาคตัดไม่น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร (1/8 นิ้ว)

คอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) คือ คอนกรีตเสริมแรงรูปแบบหนึ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำหนักด้วยการใช้เหล็กเข้ามาช่วย เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่รับแรงอัดได้สูง แต่มีความสามารถในการรับแรงดึงต่ำ อีกทั้งยังมีความเปราะ เมื่อถูกกระทำด้วยแรงดึงจึงแตกหักได้ง่าย ในขณะที่เหล็กมีความสามารถในการรับแรงดึงสูง เมื่อถูกนำมาใช้งานร่วมกันจะเกิดการการถ่ายเทแรงภายในระหว่างคอนกรีตและเหล็ก ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงของวัสดุโดยรวมให้มากยิ่งขึ้น สำหรับในบ้านพักอาศัย หรืออาคารทั่วไป จะสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

ภาพ : โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

 

จำหน่ายไวร์เมช เกรดคุณภาพ

คอนกรีตเสริมเหล็กมีส่วนผสมของ “คอนกรีต” ซึ่งประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีตตามอัตราส่วนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน และ “เหล็ก” นิยมใช้เป็นเหล็กเส้นกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 25 มิลลิเมตร หรือเหล็กข้ออ้อยเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-40 มิลลิเมตร ซึ่งขนาดของเหล็กหรือวิธีการผูกเหล็กก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานเช่นกัน ว่าต้องการใช้ก่อสร้างเป็นส่วนไหนของงานโครงสร้างหรืองานสถาปัตยกรรม ซึ่งหากดูจากคุณสมบัติของคอนกรีตเสริมเหล็กแล้ว จะสามารถใช้งานได้ในแทบทุกส่วนของอาคารตั้งแต่โครงสร้างใต้ดิน เสา คาน ปล่องลิฟต์ บันได พื้น ผนัง ไปจนถึงดาดฟ้าหรือหลังคา รวมถึงงานก่อสร้างทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น ทางยกระดับ สะพาน อุโมงค์ เขื่อน ถนน เป็นต้น

ปัจจุบันมีเหล็กหลายชนิดที่ใช้ในงาน คอนกรีตเสริมเหล็ก เช่นเหล็กไวร์เมช , สตีลไฟเบอร์ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักก็คือ เสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีตทำให้โครงสร้างงานมีความแข็งแรง

กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก

ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ

  1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม
  2. ส่วนผสมคอนกรีตที่พอเหมาะจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านมาทำให้เกิดการกัดกร่อนในเหล็กเสริม
  3. อัตราการขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิท่ีใกล้กันของเหล็กและคอนกรีตทำให้เกิดแรงน้อยมากระหว่างคอนกรีตและเหล็กภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

ลวดผูกเหล็ก

ภาพ : โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

 

*มารู้จักคอนกรีตเสริมแรง

แชร์ให้เพื่อน