สเปคแผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานต่างๆ

แชร์ให้เพื่อน

สเปคแผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานต่างๆ

สวัสดีครับ วันนี้ เรามาดูสเปคของ Geotextile ที่ใช้กับงานต่างๆ กันครับ ว่าสเปคที่เหมาะสมนั้นควรเลือกใช้อย่างไร

แผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับงานถนน

เป็น วัสดุที่ใช้ในขั้นตอนการทำถนนบางพื้นที่ เช่น ถนนที่มีน้ำซึมผ่าน ถนนที่ดินเป็นดินชุ่มน้ำ ช่วยให้ถนนใช้งานได้ยาวนาน และมีประทิธิภาพมากขึ้น

ข้อดีของการใช้ Geotextile สำหรับงานถนน
– ใช้เป็นวัสดุสำหรับกรอง กรองดิน กรองน้ำ ได้ดี
– ใช้เป็นวัสดุสำหรับระบายน้ำ ช่วยให้น้ำระบายได้ดี
– ใช้เป็นวัสดุเสริมกำลัง ป้องกันการยุบตัวชองดิน ช่วยให้ดินเกาะตัวได้ดี
– ใช้เป็นวัสดุแยกชั้น ปองกัน การจมตัวของชั้นดินหรือหิน ไม่ให้จมตัวรวมกัน

การใช้แผ่นใยสังเคราห์ Geotextile สำหรับงานถนน บางหน่วยงานก็เลือกใช้ Geotextile ตามสเปคนี้
คุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่เหมาะสำหรับงานถนน

– ทําจากวัสดุ Polypropylene (PP) พอลิโพรไพลีน แบบ Nonwovens คือแบบไม่ถัก
– เส้นใยสังเคราะห์จะต้องอัดกันเป็นแผ่น ไม่หลุดจากกันง่าย
– คุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์จะต้องไม่น้อยกว่าเกณฑ์กําหนดดังนี้
– น้ําหนักต่อพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 310 กรัม/ตารางเมตร
– ความหนา ไม่น้อยกว่า 2.2 มิลลิเมตร
– ความต้านทานแรงดึง ไม่น้อยกว่า 1,100 นิวตัน
– การยืดตัว ไม่น้อยกว่า 50%
– ความต้านทานแรงฉีกขาด ไม่น้อยกว่า 450 นิวตัน
– อัตราซึมผ่าน ไม่น้อยกว่า 70 ลิตร/วินาที/ลบ.ม.


 

แผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับงานกรอง งานระบายน้ำ
การใช้ geotextile สำหรับงานกรองน้ำ ในพื้นที่ต่างๆ เช่น งานปรับภูมิทัศน์ งานก่อสร้างตลิ่งเขื่อน ตลิ่งอ่างระบายน้ำ เป็นต้น

แผ่นใยสังเคราะห์ต้องถือว่าเป็น วัสดุสังเคราะห์แรงดึงสูง ซึ่งมีคุณสมบัติรับแรงดึงได้สูง เป็นแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอสําหรับกรองดินระบายน้ํา กรองดิน ระบายน้ําและเสริมแรงดิน ป้องการถล่มของดิน

วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดแรงดึงสูงสําหรับแยกชั้นและ เพิ่มเสถียรภาพดินถมเบื้องต้น จะต้อง ผลิตจากวัสดุเส้นใยโพลีเอสเตอร์ (Polyester:PET) แบบเส้นใยยาวต่อเนื่อง (Continuous Filament Polyester) ทอเป็นผืนด้วยกรรมวิธี Needle Punched เป็นแผ่นกรองใย สังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile)

คุณสมบัติของ แผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับงานกรอง งานระบายน้ำ
– เป็นแบบชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile)
– ต้องมีความทนทานต่อสารเคมี ต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน สามารถทนกรดด่างได้ PH2 – PH13
– ผลิตโพลีเอสเตอร์
– น้ําหนักต่อพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 200 กรัม/ตารางเมตร
– ความหนา ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
– ความต้านทานแรงดึง ไม่น้อยกว่า 2,200 นิวตัน
– การยืดตัว ไม่น้อยกว่า 50%

แชร์ให้เพื่อน

20 การใช้งานผ้า Geotextile

แชร์ให้เพื่อน

20 การใช้งานผ้า Geotextile

ผ้า geotextile ,ผ้าจีโอเทกซ์ไทล์

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูการใช้งานแผ่นใยสังเคราะห์ หรือ แผ่น Geotextile 

  1. ใช้แยกชั้นหินกับชั้นดิน โดยการปูผ้า Geotextile แล้ววางชั้นหินกับชั้นดิน เพื่อแยกระหว่างกัน
  2. การกรอง (filtration) แผ่น geotextile หรือผ้าใยสังเคราะห์ มีคุณสมบัติที่น้ำซึมผ่านได้ ทำให้สามารถใช้ในการกรองน้ำได้
  3. ใช้คลุมดินเพื่อป้องกันการเติบโตของวัชพืช ผ้า Geotextile ใช้เพื่อคลุมดิน
  4. ใช้เพื่อสร้างร่มเงา ป้องกันลม หรือป้องกันแมลง ให้กับเรือนกระจกหรือพื้นที่เพาะปลูกอื่น
  5. ใช้ป้องกันพืชผลบางชนิดจากนก แมลง และสภาวะอากาศต่างๆ
  6. ใช้ทำกระถางต้นไม้ ผ้า geotextile ใช้สำหรับทำกระถางต้นไม่ได้ และสามารถปลูกต้นไม้และระบายน้ำได้ดี กระถางผ้า geotextile
  7. เพิ่มเสถียรภาพของงานโครงสร้างบนดิน ผ้า geotextile ป้องกันการยุบตัวของชั้นหินและดิน จึงเพิ่มเสถียรภาพของงานโครงสร้างบนดินได้ 
  8. ป้องกันการกัดเซาะริมตลิ่ง การใช้ผ้า geotextile ปูริมตลิ่งช่วยลดการกัดเซาะของน้ำริมตลิ่งได้ 
  9. ชั้นกรองระบายน้ำ ผ้า geotextile ช่วยกรองน้ำให้ผ้านไปได้ และป้องกันเศษดินหิน ไม่ให้ไหลลงไปกับน้ำ แผ่นใยสังคราะห์ใช้ทำธนาคารน้ำใต้ดิน
  10. ป้องกันการฉีกขาดของแผ่นพลาสติกกันซึม เมื่อ
  11. เสริมกำลังดินในสันทาง ทางลาดชัน และกำแพงดิน
  12. งานบ่อฝังกลบขยะ, งานบ่อบำบัดน้ำเสีย
  13. งานบ่อน้ำทั่วไป บ่อสวยงาม บ่อการเกษตร
  14. งานอ่างเก็บน้ำ
  15. งานเขื่อนดินและคลองส่งน้ำ
  16. งานป้องกันริมฝั่งแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล
  17. งานรากฐานเสาสะพาน ตอม่อ
  18. งานกล่องลวดตาข่าย ที่ป้องกันหน้าดิน
  19. งานคันดินสร้างถนน
  20. ใช้ในการซ่อมแซมทางรถไฟ

 

แชร์ให้เพื่อน