การใช้งาน ผ้าจีโอเทกซ์ไทล์ (Geotextile)

แชร์ให้เพื่อน

การใช้งาน ผ้าจีโอเทกซ์ไทล์ (Geotextile)

แผ่น Geotextile คือแผ่นใยสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติน้ำซึมผ่านได้ และมีความทนทานสูง มักใช้ในงานด้านโยธา สิ่งแวดล้อม และการเกษตร เช่น ใช้ในงานทำถนน ทำรางรถไฟ ทำเขื่อน ป้องกันตลิ่ง เป็นต้น

การใช้งานแผ่น Geotextile เป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น

• การแยกส่วนดิน: เพื่อป้องกันการผสมของดินหลายชั้น
• การกรองน้ำ ชั้นดิน ชั้นหิน: เพื่อใช้กรองระหว่างชั้นดินและหินให้แยกกัน และให้น้ำซึมผ่านได้
• เสริมความแข็งแรง: เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้าง เช่นผนังดิน ตลิ่งอ่างเก็บน้ำ สระน้ำ ฝายกักน้ำ เขื่อน เป็นต้น

ใช้ Geotextile ในงานใดบ้าง ผ้า geotextile ใช้ในงานใด ได้บ้าง?

– Geotextile เสริมความแข็งแรงให้เขื่อน

เหมาะสำหรับการเสริมความแข็งแรงให้กับเขื่อน เพราะมีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นได้ ทนทานต่อสารเคมี และซึมผ่านของน้ำได้ดี


– Geotextile งานสนามหญ้า / สนามกอล์ฟ

Geotextile ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) เหมาะสำหรับงานสนามหญ้า / สนามกอล์ฟ เพราะมีความสามารถในการกรองน้ำและกระจายแรงกดของดินได้ดี ทนทานต่อแสงยูวี


– Geotextile งานระบายน้ำใต้ดิน

Geotextile ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) เหมาะสำหรับงานระบายน้ำใต้ดิน เพราะมีความสามารถในการกรองน้ำ และน้ำไหลผ่านได้ดี


– Geotextile งานถนน

มีประโยชน์ในการก่อสร้างถนน โดยสามารถป้องกันการเคลื่อนตัวของดิน และเพิ่มอายุการใช้งานของถนน มีความแข็งแรงและสามารถกรองน้ำและกระจายน้ำหนักได้ดี

Geotextile สำหรับงานบ่อเก็บน้ำ น้ำดี / น้ำเสียก่อนปูพลาสติกกันซึม

Geotextile สามารถใช้ในงานบ่อเก็บน้ำได้ โดยมีหน้าที่กรองและระบายน้ำ Geotextile ที่ใช้ในงานบ่อเก็บน้ำมักจะเป็นชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) เพราะมีความหยุ่นและน้ำซึมผ่านได้ดี

Geotextile สำหรับงานบ่อขยะ

สามารถใช้ในงานบ่อขยะได้ โดยมีหน้าที่ป้องกันการรั่วซึมของน้ำเสีย และเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างบ่อขยะ Geotextile ที่ใช้ในงานบ่อขยะมักจะเป็นชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile) เพราะมีความหยุ่นและสามารถป้องกันการเจาะทะลุได้ดี

 

แชร์ให้เพื่อน

การป้องกันดินตลิ่งพังทลายหรือดินสไลด์

แชร์ให้เพื่อน

การป้องกันดินตลิ่งพังทลายหรือดินสไลด์

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูวิธีการป้องกันดินบริเวณตลิ่งแม่น้ำ สันเขื่อน สันบ่อเก็บน้ำ สันอ่างเก็บน้ำ เพื่อไม่ให้พังทลาย หรือเกิดดินสไลด์ขึ้น

1.ปลูกพืชหรือวัชพืชบริเวณดินสันเขื่อน

การปลูกพืช หรือพืชเช่น หญ้าแฝก หญ้าที่มีรากยาว ช่วยให้มีการยึดเกาะ ของดินกับรากพืช ช่วยป้องกันการกัดเซาะและดินยึดตัวกันแน่นมากขึ้น

2.อัดดินให้แน่น

การอัดดินบริเวณตลิ่งให้แน่น เป็นขั้นตอนในการทำตลิ่ง โดยการใช้รถบดอัด หรือนำหิน มาผสมกับดินและอัดให้แน่น จะช่วยป้องกันน้ำกัดเซาะ ของน้ำบริเวณตลิ่งได้ และป้องกันการพังทลายของดินได้

3.การใช้ผ้าใยสังเคราะห์หรือ ผ้า Geotextile

ปูบริเวณสันเขื่อน สันอ่างเก็บน้ำ หรือสันบ่อเก็บน้ำ วิธีนี้ เป็นวิธีป้องกันการกัดเซาะของบริเวณตลิ่งน้ำได้ เป็นการชะลอการไหลของน้ำ เพราะน้ำสามารถไหลซึมแผ่น Geotextile ได้ แต่จะไหลไม่แรง ดังนั้นน้ำจึงไม่กัดเซาะบริเวณตลิ่ง และป้องกันดินและหิน ไม่ให้รวมตัวกัน เป็นการแยกชั้นหินและดินให้แยกชั้นกัน เป็นการป้องกันการกัดเซาะของน้ำ บริเวณตลิ่งที่ได้ผล และใช้งานกันมากขึ้น

4.การเอาหินมาเรียง

และเอาปูนมาโบกทับ วิธีนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง อาจจะไม่เหมาะสำหรับคนที่มีงบน้อย

5.กั้นดินเป็นคัน

วิธีนี้อาจจะทำในช่วงหน้าแล้ง เพื่อให้วัชพืชขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่หน้าฝน 

6.ปลูกไผ่กั้นตลิ่งพัง

เช่นไผ่เลี้ยงหนัก หรือไผ่ซังหม่น ปลูก 4-5 ปี เพราะไผ่เป็นพืชที่รากแผ่ลึกลงดิน และรากแข็ง 

การปลูกไผ่เพื่อป้องกันตลิ่งพังทลาย

ลักษณะของ ผ้า Geotextile

แชร์ให้เพื่อน