สเปคแผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานต่างๆ
สวัสดีครับ วันนี้ เรามาดูสเปคของ Geotextile ที่ใช้กับงานต่างๆ กันครับ ว่าสเปคที่เหมาะสมนั้นควรเลือกใช้อย่างไร
แผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับงานถนน
เป็น วัสดุที่ใช้ในขั้นตอนการทำถนนบางพื้นที่ เช่น ถนนที่มีน้ำซึมผ่าน ถนนที่ดินเป็นดินชุ่มน้ำ ช่วยให้ถนนใช้งานได้ยาวนาน และมีประทิธิภาพมากขึ้น
ข้อดีของการใช้ Geotextile สำหรับงานถนน
– ใช้เป็นวัสดุสำหรับกรอง กรองดิน กรองน้ำ ได้ดี
– ใช้เป็นวัสดุสำหรับระบายน้ำ ช่วยให้น้ำระบายได้ดี
– ใช้เป็นวัสดุเสริมกำลัง ป้องกันการยุบตัวชองดิน ช่วยให้ดินเกาะตัวได้ดี
– ใช้เป็นวัสดุแยกชั้น ปองกัน การจมตัวของชั้นดินหรือหิน ไม่ให้จมตัวรวมกัน
การใช้แผ่นใยสังเคราห์ Geotextile สำหรับงานถนน บางหน่วยงานก็เลือกใช้ Geotextile ตามสเปคนี้
คุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) ที่เหมาะสำหรับงานถนน
– ทําจากวัสดุ Polypropylene (PP) พอลิโพรไพลีน แบบ Nonwovens คือแบบไม่ถัก
– เส้นใยสังเคราะห์จะต้องอัดกันเป็นแผ่น ไม่หลุดจากกันง่าย
– คุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์จะต้องไม่น้อยกว่าเกณฑ์กําหนดดังนี้
– น้ําหนักต่อพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 310 กรัม/ตารางเมตร
– ความหนา ไม่น้อยกว่า 2.2 มิลลิเมตร
– ความต้านทานแรงดึง ไม่น้อยกว่า 1,100 นิวตัน
– การยืดตัว ไม่น้อยกว่า 50%
– ความต้านทานแรงฉีกขาด ไม่น้อยกว่า 450 นิวตัน
– อัตราซึมผ่าน ไม่น้อยกว่า 70 ลิตร/วินาที/ลบ.ม.
แผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับงานกรอง งานระบายน้ำ
การใช้ geotextile สำหรับงานกรองน้ำ ในพื้นที่ต่างๆ เช่น งานปรับภูมิทัศน์ งานก่อสร้างตลิ่งเขื่อน ตลิ่งอ่างระบายน้ำ เป็นต้น
แผ่นใยสังเคราะห์ต้องถือว่าเป็น วัสดุสังเคราะห์แรงดึงสูง ซึ่งมีคุณสมบัติรับแรงดึงได้สูง เป็นแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอสําหรับกรองดินระบายน้ํา กรองดิน ระบายน้ําและเสริมแรงดิน ป้องการถล่มของดิน
วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดแรงดึงสูงสําหรับแยกชั้นและ เพิ่มเสถียรภาพดินถมเบื้องต้น จะต้อง ผลิตจากวัสดุเส้นใยโพลีเอสเตอร์ (Polyester:PET) แบบเส้นใยยาวต่อเนื่อง (Continuous Filament Polyester) ทอเป็นผืนด้วยกรรมวิธี Needle Punched เป็นแผ่นกรองใย สังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile)
คุณสมบัติของ แผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับงานกรอง งานระบายน้ำ
– เป็นแบบชนิดไม่ถักทอ (Non woven Geotextile)
– ต้องมีความทนทานต่อสารเคมี ต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน สามารถทนกรดด่างได้ PH2 – PH13
– ผลิตโพลีเอสเตอร์
– น้ําหนักต่อพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 200 กรัม/ตารางเมตร
– ความหนา ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
– ความต้านทานแรงดึง ไม่น้อยกว่า 2,200 นิวตัน
– การยืดตัว ไม่น้อยกว่า 50%